SiteName

น้อมนำพระราชดำริ สานต่อโครงการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำ


 topic4 old p38 1


 

      นายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. มีเขื่อนขนาดใหญ่หลายเขื่อน แห่งแรกคือเขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก เขื่อนที่ 2 คือเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ซึ่งเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ 1 ล้านกล้า ปี 2555    จุดประสงค์ของการก่อสร้างเขื่อนเหล่านี้ก็เพื่อเก็บน้ำสำหรับการเกษตร และการอุปโภคบริโภค ในระหว่างที่ปล่อยน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำก็จะใช้ประโยชน์ด้วยการนำมาผลิตกระแสไฟฟ้า  ป้อนเข้าสู่ระบบเพื่อใช้ประโยชน์ด้านพลังงานของสังคมก่อนหน้านี้พระบาทสมเด็จพระเจ้า อยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์ ได้เสด็จฯไปประทับแรม และทรงงานในระหว่างเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎรในถิ่นทุรกันดาร ในพื้นที่ของเขื่อนเหล่านี้ และตลอดเวลาที่ผ่านมาพระองค์ได้มีพระราชดำรัสเรื่องการรักษาป่าต้นน้ำลำธาร เพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำตามธรรมชาติในพื้นที่เหนืออ่างเก็บน้ำของเขื่อนต่าง ๆ กับเจ้าหน้าที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแทบทุกครั้ง ทั้งนี้ก็เพื่อการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในด้านต่าง ๆ ของประเทศตลอดเวลาที่ผ่านมาพนักงาน กฟผ. ทุกยุคทุกสมัยก็ได้ซึมซับเรื่องการรักษาป่า การดูแลแหล่งต้นน้ำต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี 2537 เป็นต้นมาด้วยการจัดทำโครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติ ในพื้นที่ป่าต้นน้ำ และพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งปลูกได้ประมาณ 300,000 ต้น ในพื้นที่กว่า 4,000 ไร่ ปัจจุบันต้นไม้เหล่านั้นมีอายุร่วม 20 ปีแล้ว ต่างได้เจริญเติบโตจนเป็นป่าผืนใหญ่เขียวขจี สร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดินและแหล่งต้นน้ำเป็นอย่างดีนายธวัช วัจนะพรสิทธิ์ กล่าว

      รองผู้ว่าการกิจการสังคมและสิ่งแวดล้อมเปิดเผยเพิ่มเติมด้วยว่า ในปี 2553 ที่ผ่านมาขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประทับอยู่ที่วังไกลกังวล ทาง กฟผ. ก็ได้จัดทำโครงการ ปลูกป่ารอบบ้านพ่อบริเวณโดยรอบวังไกลกังวล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยปลูกต้นกล้าไป 1 ล้านต้น

      ในปี 2554 เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา84 พรรษา ทาง กฟผ. ก็ได้จัดโครงการปลูกต้นกล้าป่าต้นน้ำถวายพ่อขึ้น ซึ่งได้ดำเนินการในพื้นที่ของเขื่อนหลัก 9 เขื่อน ที่ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยปลูกไป 1 ล้านกล้า ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วนในการไปร่วมปลูกทั้งในพื้นที่และในระบบออนไลน์ที่ กฟผ. จัดทำขึ้น  ซึ่งเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ประชาชนมีความรักและหวงแหนผืนป่าได้เป็นอย่างดี 

      สำหรับในปี 2555 นี้ เนื่องในโอกาสที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา ทาง กฟผ. ก็ได้รับการประสานจากรัฐบาลและกระทรวงพลังงาน ในการดำเนินการปลูกป่า 10,000 ไร่ ในบริเวณจังหวัดน่าน ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นน้ำของเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ในพื้นที่ 10,000 ไร่ โดยจะใช้เวลาในการปลูก 2 ปี โดยปลูกปีละ 1 ล้านต้น รวม 2 ล้านต้น พร้อมทั้งปลูกหญ้าแฝกอีก 1 ล้านต้น บริเวณพื้นที่โดยรอบอ่างเก็บน้ำและสันเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งหญ้าแฝกที่ปลูกนี้เมื่อเจริญเติบโตจะช่วยป้องกันหน้าดินไม่ให้พังทลาย และสร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่อีกด้วย

      พร้อมกันนี้ก็มีการสร้างฝายขนาดเล็ก หรือฝายแม้วอีก 880 ฝาย ในบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำสาขาลุ่มน้ำน่านที่ไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์ และพื้นที่โดยรอบของสันเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งตอนนี้ได้เริ่มการทำฝายมาแล้วตั้งแต่ช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมกับการเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการ  ปัจจุบันแล้วเสร็จและสามารถใช้ประโยชน์ในการชะลอน้ำในพื้นที่ป่าต้นน้ำได้ประมาณ  500 ฝาย นอกจากโครงการเฉลิมพระเกียรติที่ได้มีการจัดกิจกรรมขึ้นในพื้นที่ของเขื่อนสิริกิติ์แล้ว ที่เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ปีนี้ก็จะเป็นปีครบรอบ 100 พรรษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี  กฟผ.ก็ได้สร้างฝายในพื้นที่ป่าต้นน้ำของเขื่อนแห่งนี้ด้วยจำนวน 1,000 ฝาย

      เหล่านี้คือโครงการทั้งหมดที่ กฟผ. ได้ดำเนินการมานับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ในการดูแลป่า และบำรุงรักษาป่าต้นน้ำบริเวณอ่างเก็บน้ำและป่าต้นน้ำเหนือเขื่อนต่าง ๆ  ซึ่งผลพวงเหล่านี้ทั้งในปัจจุบันจากผลที่ดำเนินการแล้วเสร็จ และอนาคตจากผลของโครงการที่กำลังดำเนินการอยู่ในขณะนี้ จะยังมาซึ่ง คุณภาพตามธรรมชาติในการรักษาป่าต้นน้ำแหล่งน้ำสำคัญ ให้กับประเทศชาติในการบริหารจัดการน้ำและประชาชนทั่วไปได้มีน้ำใช้ในการทำการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ซึ่งเหล่านี้เป็นการสนองพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ในการรักษาและอนุรักษ์ป่าต้นน้ำของแผ่นดินไทย.

topic4 old p38 2 topic4 old p38 3

 

 

แหล่งที่มา :  www.dailynews.co.th  วันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2555  

 

กลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร