SiteName

'รอยล' แนะจับมือเอกชนทำโครงสร้างป้องน้ำ

topic4 old p31 1 


"กรุงเทพธุรกิจ"จัดสัมมนา"น้ำท่วมแผ่นดินไหวภัยแล้งประเทศไทยก้าวพ้นภัยพิบัติ"ดร.รอยลหนุนสร้างโมเดล"จราจรน้ำ"ป้องน้ำรับอาจท่วมแต่น้อยกว่าปี54

หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จัดสัมมนาหัวข้อ "น้ำท่วม แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ประเทศไทยก้าวพ้นภัยพิบัติ?" เพื่อหาทางออกและแนวทางในการป้องกันก่อนที่ภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้น และสร้างเครือข่ายความช่วยเหลือที่มีประสิทธิภาพ โดยมีประชาชนร่วมรับฟังการสัมมนากว่าร้อยคน
              ดร.รอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) กรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "บริหารจัดการน้ำเชิงบูรณาการ แก้วิกฤติ น้ำท่วม-ภัยแล้ง ซ้ำซากว่า เริ่มต้น
1.เราจะก็ปัญหาอะไรต้องเข้าใจธรรมชาติเรื่องน้ำที่เปลี่ยนแปลง
2.จะทำอย่างไรให้มีการจัดการที่ดี
3.ทำอย่างไรทุกพื้นที่ในประเทศไทยจะมีการจัดการน้ำ
             ซึ่งน้ำท่วมปีที่แล้วประเทศไทยเสียหายแต่มีการป้องกันแล้ว แต่ถ้าไม่มีการเปลี่ยนแปลงการจัดการปัญหาจะบานไปตลอด ที่ผ่านมาตนได้คุยกับประเทศจีนพบว่าเทือกเขาหิมาลัยอุณภูมิเปลี่ยน ทำให้ทิศทางลมทะเลเปลี่ยนหลายประเทศ มีทั้งฝนที่เปลี่ยนแปลง การแก้ปัญหาน้ำที่แล้วมาเราแก้น้ำท่วมแยกกับน้ำแล้ง ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก แต่เป็นไปได้อย่างไรเมื่อภัยแล้งที่ผ่านมาเกิดภัยแล้ง 51 จังหวัด พอเกิดน้ำท่วมเราไล่น้ำทิ้งเลย เมื่อมีการปลูกพืชฤดูแล้งก็ต้องเอาน้ำใต้ดินมาใช้ ก็เกิดปัญหาแล้งหนักมากขึ้น ซึ่งการแก้ปัญหาน้ำร้อยละ 80 ของประเทศไทยยังไม่มีการบริหารโครงสร้างน้ำเท่าที่ควร
             ดร.รอยล กล่าวต่อว่า วันนี้แบบจำลองสภาพอากาศ แบบจำลองทะเลสามารถนำมาคิดรวมกันได้ โดยสิ่งที่พบเมื่อได้ทำงานกับราชการฝ่ายระดับท้องถิ่นต้องมาดูเรื่องน้ำ ภายใต้โปรแกรมซีเอสอาร์ของเอกชน จึงต้องมีการร่วมมือกับภาคเอกชนในการสร้างโปรแกรมนี้ขึ้นมา ที่ผ่านมาโครงสร้างน้ำขอบประเทศไทยลงทุน 1 ใน 10 ของโครงสร้างทำถนน ถนนทุกเส้น 7 ปีจะมีการดูแลใหม่ แต่โครงสร้างน้ำไม่มีเวลาระบุว่าเมื่อไหร่จะดูแลรักษาซึ่งจุดอ่อนของน้ำคือการจัดการ แต่ภาคธุรกิจเข้มแข็งเพราะมีการปรับโครงสร้างของตัวเอง ส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้าไปจัดการ วันนี้ทุกคนยอมรับว่าต้องวางแผนเรื่องน้ำเปลี่ยนกระบวนการคิดและวิเคราะห์ เรื่องเทคโนโลยีเรายังมองต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ถึงแม้เราลงทุนถนน 10 เท่าของน้ำ ถามว่ารถยังติดหรือไม่ ก็ต้องมีการจัดการจราจร ซึ่งน้ำก็ต้องจัดจราจรน้ำที่ดีเช่นกัน ที่จะต้องมาจากผู้ปฎิบัติจากกรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ดังนั้นจากข้อมูลจะช่วยให้เราเกิดการคาดการณ์ และวางแผน แต่ที่แล้วมาเราขาดจุดนี้ ส่วนการจัดการภัยพิบัติ การเชื่อมโยงบริหารจัดการน้ำ เราสามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้ทั้งหมด ส่วนหนึ่งสามารถเตือนภัยได้ แต่ปัญหาอยู่กับการวิเคราะห์ข้อมูล เราจะมาจ้างใครทำแทนไม่ได้
             ขณะเดียวกันดร.รอยล ยังได้กล่าวอีกว่า ไม่อยากฟันธงว่าน้ำจะไม่ท่วมในปีนี้หรือไม่ แต่เถ้าหากท่วมจะไม่รุนแรงเหมือนปี54

 

 

 แหล่งที่มา : www.bangkokbiznews.com    วันที่ 19 มิถุนายน 2555  

กลุ่มวางแผนการจัดการที่ดินในพื้นที่เสี่ยงภัยทางการเกษตร