Page 51 - Management_agricultural_drought_2561
P. 51

44



                           สีใส  (2547)  ไดวิเคราะหหาพื้นที่เสี่ยงภัยแลงในจังหวัดพิษณุโลก  โดยการประยุกตใชระบบ
               สารสนเทศภูมิศาสตร ใชตัวแปรดานสิ่งแวดลอม 15 ตัวแปร รวม 4 ดาน คือดานน้ําฝน ดานศักยภาพน้ําใตดิน

               และลุมน้ํา ดานระยะหางจากแหลงน้ํา และดานสภาพภูมิประเทศและดิน จําแนกระดับการศึกษาออกเปน 4
               ระดับ คือ ไมเสี่ยง เสี่ยงต่ํา เสี่ยงปานกลาง และเสี่ยงสูง จากการศึกษาพบวา ตัวแปรทั้ง 15 ตัวแปร สามารถใช
               รวมกันเพื่ออธิบายความเสี่ยงตอภัยแลงของพื้นที่ไดรอยละ  95.4  โดยระดับความเสี่ยงภัยแลงมีความสัมพันธ
               กับปจจัยดานศักยภาพน้ําใตดินและลุมน้ํา(R=0.95)  มากกวาปจจัยดานสภาพภูมิประเทศและดิน  ปจจัยดาน

               ระยะหางจากแหลงน้ําปจจัยดานน้ําฝน  (R=0.92, 0.91,  0.88)  ตามลําดับ  และพบวามี  4  ตัวแปร  ที่มี
               ความสัมพันธสูงกับระดับความเสี่ยงภัยแลงคือ  ระยะหางจากพื้นที่ชลประทาน  ศักยภาพชั้นหินใหน้ํา
               ความสามารถใหน้ําของบอบาดาล  และระยะหางจากแหลงน้ําผิวดิน  ซึ่งจากการวิเคราะหพบวาจังหวัด
               พิษณุโลกมีพื้นที่ทั้งหมด 6,809,375 ไร เปนพื้นที่ที่ไมเสี่ยงภัยแลง 1,564,234 ไร (23.14%) เสี่ยงภัยแลงระดับ

               ต่ํา 1,971,628 ไร (29,17%)เสี่ยงภัยแลงระดับปานกลาง 2,024,055 ไร (29.94%) และเสี่ยงภัยแลงระดับสูง
               1,199,458 ไร (17.75%)
                           จิราพร (2549) ไดใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อประเมินหาพื้นที่เสี่ยงตอการเกิดภัยแลงโดย
               วิเคราะหการถดถอยในพื้นที่จังหวัดลพบุรี  โดยใชปจจัยดานอุตุนิยมวิทยา  อุทกวิทยา  อุทกธรณีวิทยา  ภูมิ

               ประเทศ  ดานปฐพีวิทยา  และการใชประโยชนที่ดิน  ผลการศึกษา  พบวาปจจัยที่มีอิทธิพลตอการเกิดภัยแลง
               อยางมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับเชื่อมั่นรอยละ 95 มี 6 ตัวแปรคือ จํานวนวันฝนตกรายปเฉลี่ย ความลาดชัน
               ของพื้นที่ การใชประโยชนที่ดิน ระดับความสูงของพื้นที่ ระยะหางจากพื้นที่ชลประทาน และปริมาณน้ําฝนราย

               ปเฉลี่ย สําหรับปริมาณน้ําใตดิน และคุณสมบัติในการระบายน้ํา ไมมีความสัมพันธตอการเกิดภัยแลงที่ระดับ
               ความเชื่อมั่นรอยละ 95
                           นิทัศน (2549) ไดศึกษาคําจํากัดความและเกณฑการกําหนดภัยแลงในประเทศไทยบริเวณพื้นที่
               ลุมน้ํายม โดยมีวัตถุประสงคเพื่อหาตัวบงชี้ภัยแลง และมีการตั้งสมมุติฐานวาสวนใหญภัยแลงเกิดจากการที่มี
               ฝนตกนอยกวาเกณฑปกติ และ ทําใหเกิดปริมาณการไหลนอยกวาปกติ ซึ่งตัวบงชี้ภัยแลงในเชิงอุทกวิทยาและ

               อุตุนิยมวิทยานี้ สามารถนําไปใชประโยชนในการเตือนภัยแลง เพื่อเตรียมตัวปองกันและบรรเทาภัยแลงได จาก
               การศึกษาพบวาปริมาณน้ําฝนและปริมาณน้ําทาสามารถใชเปนตัวบงชี้วาเกิดภัยแลงไดโดยมีความถูกตอง
               รอยละ 69 และรอยละ 68 ตามลําดับ

                           วิภพ  (2549)  ไดศึกษาการประยุกตใชขอมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อ
               วิเคราะหหาพื้นที่เสี่ยงตอความแหงแลงทางกายภาพของดินในอําเภอบานดานลานหอย  จังหวัดสุโขทัย  โดย
               การประยุกตใชดาวเทียมเพื่อสรางขอมูลตัวแปรเชิงพื้นที่และใชประกอบในการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหง
               แลง  ไดแกขอมูลการใชประโยชนจากที่ดิน  ขอมูลการคายระเหยน้ํา  ขอมูลระยะหางจากแหลงน้ํา  และการ

               ประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเครื่องมือในการจําลองขอมูลตัวแปรเชิงพื้นที่ ไดแก ปริมาณน้ําฝน
               จํานวนวันที่ฝนตก  ความชื้นสัมพันธ  อุณหภูมิอากาศ  การคายระเหยน้ํา  ศักยภาพของชั้นหินในน้ําของดิน
               ระยะหางแหลงน้ําผิวดิน  ความลาดชัน  ความสูงต่ําของพื้นที่  และความสามารถการระบายน้ําของดิน  จาก
               การศึกษาพบวาตัวแปรดานกายภาพที่สําคัญและเปนสาเหตุการเกิดความแหงแลงคือ  การระบายน้ําของดิน

               ระดับดี ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย และการคายระเหยน้ํา โดยเฉพาะอยางยิ่งการระบายน้ําของดินระดับดีเปนตัวแปร
               ที่สําคัญที่สุดในการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหงแลง  และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอ
               ความแหงแลงของทั้งสองวิธี พบวาการกําหนดคาคะแนนความแหงแลงมาตรฐานของทั้งสองวิธีการไมมีความ
               แตกตางกันที่ระดับนัยสําคัญ  0.05  และตรวจสอบความถูกตองของแผนที่การกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหง
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56