Page 52 - Management_agricultural_drought_2561
P. 52

45



               แลงโดยวิธีระบบผูเชี่ยวชาญและวิธีสถิติวิเคราะหการถดถอยพหุคูณและการสํารวจภาคสนาม  พบวามีความ
               ถูกตองโดยรวมเทากับรอยละ60 และ 66 ตามลําดับ

                           รัศมี (2550) ไดศึกษาแนวทางการวิเคราะหความแหงแลงดวยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร กรณี
               พื้นที่ศึกษาลุมน้ําเชิญ โดยมีวัตถุประสงคเพื่อวิเคราะหปจจัยและเกณฑของปจจัยที่กอใหเกิดความแหงแลงและ
               สรางแบบจําลองเชิงพื้นที่เสี่ยงภัยแลงรวมทั้งเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะหพื้นที่เสี่ยงภัยแบบเมทริกซ  ดัชนี
               และมัลติเลเยอร โดยใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร โดยกําหนดปจจัยที่ใชเปน 3 กลุมคือ ปจจัยวินิจฉัยภัยแลง

               เชิงอุตุนิยมวิทยาไดแก  ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยรายป  ปจจัยวินิจฉัยภัยแลงเชิงอุทก  ไดแก  พื้นที่ชลประทานและ
               แหลงน้ําผิวดิน ความหนาแนนของการระบายน้ําและน้ําใตดิน ปจจัยวินิจฉัยภัยแลงเชิงกายภาพ ไดแกความ
               ลาดชัน การระบายน้ําของดิน และการใชประโยชนที่ดิน โดยจําแนกระดับความเสี่ยงภัยแลงเปน 4 ระดับ คือ
               ระดับความเสี่ยงมาก ปานกลาง นอย และนอยมาก ผลการศึกษาพบวาการวิเคราะหพื้นที่เสี่ยงภัยแลงดวยวิธี

               เมทริกซ ผูวิเคราะหสามารถใชความรูความชํานาญประสบการณเขามามีสวนรวมในการตัดสินใจ จะใหความ
               ถูกตองมากกวาใชวิธีการวิเคราะหโดยสมการทางคณิตศาสตร และเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร จะสามารถ
               จําลองพื้นที่เสี่ยงภัยแลงไดอยางมีประสิทธิภาพหากมีการปรับปรุงขอมูลใหทันเหตุการณและมีองคความรูใหม
               อยูเสมอ

                           วรนุช (2551)  ไดศึกษาเรื่องการประเมินความแหงแลงของลุมน้ําปาสัก ดวยดัชนีความแหงแลง
               จากขอมูลอุตุอุทกวิทยา และเทคนิคการสํารวจระยะไกล โดยมีวัตถุประสงคเพื่อประเมินความแหงแลงในลุม
               น้ําปาสักดวยดัชนีปริมาณน้ําฝน (Standardized Precipitation Index : SPI) ดัชนีน้ําใตดิน (Standardized

               Water Level :  SWI) และเทคนิคการสํารวจระยะไกล ดวยดัชนีความสมบูรณของพืชพรรณ (Vegetative
               Health Index : VHI ) ซึ่งเปนคาความสัมพันธระหวางดัชนีสภาพพืชพรรณ (Vegetative Condition Index :
               VCI) กับดัชนีสภาพอุณหภูมิ (Temperature Condition Index : TCI) จากการวิเคราะหขอมูลภาพถายจาก
               ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา NOAA ระบบ AVHRR และ การจัดทําแผนที่ความรุนแรงของความแหงแลงดวยระบบ
               สารสนเทศภูมิศาสตร ตลอดจนการศึกษาวิเคราะหความสัมพันธระหวางพื้นที่ประสบความแหงแลงกับประเภท

               การใชที่ดินดวยการแปลและตีความจากภาพถายดาวเทียม Landsat-5TM  และประเมินความถูกตองของ
               วิธีการดังกลาวดวยการเปรียบเทียบผลการประเมินกับรายงานพื้นที่ประสบภัยแลงของกรมปองกันและบรรเทา
               สาธารณภัย พบวาการประเมินความแหงแลงดวยดัชนี SPI โดยอาศัยขอมูลอุตุนิยมวิทยาชวงป พ.ศ. 2547 ถึง

               พ.ศ. 2549 ชวงเวลาของการเกิดภัยแลงเริ่มตั้งแตเดือนตุลาคมถึงเมษายน โดยมีคาความถูกตองรอยละ 99.43
               ในป พ.ศ. 2548  และรอยละ 87.16  ในป พ.ศ. 2549  ในขณะที่การประเมินดวยดัชนี SWI  พบวาไมมีความ
               เหมาะสมตอกรณีของพื้นที่ลุมน้ําปาสัก เนื่องจากสถานีตรวจวัดระดับน้ําใตดินมีจํานวนนอย และไมกระจาย
               ครอบคลุมพื้นที่ศึกษา สําหรับการประเมินความแหงแลงดวยดัชนี VHI ไดผลวามีชวงระยะเวลาของการเกิดภัย

               แลงสองชวง คือ ชวงเดือนพฤศจิกายนถึงมกราคม และเดือนเมษายนถึงพฤษภาคม โดยมีคาความถูกตองรอย
               ละ 90.96  ในปพ.ศ.2548  และรอยละ 52.39  ในปพ.ศ. 2549  โดยเมื่อนําพื้นที่ประสบภัยแลงที่ไดจากการ
               วิเคราะหดัชนี VHI ของเดือนพฤศจิกายน อันเปนเดือนที่มีระดับความแหงแลงมากที่สุดซอนทับกับขอมูลการ
               ใชประโยชนที่ดิน พบวา พื้นที่ที่มีโอกาสประสบภัยแลงครอบคลุมพื้นที่เกษตรกรรม ไรราง พื้นที่ปาไม สวนปา

               และพื้นที่ชุมชน จากมากไปนอยตามลําดับ จากการศึกษาสามารถกลาวไดวาการประเมินความแหงแลงดวย
               เทคนิคการสํารวจระยะไกล เปนวิธีหนึ่งที่สามารถระบุระดับความรุนแรงของความแหงแลงไดอยางรวดเร็ว
               ถูกตอง ในระดับเทียบเคียงไดกับการประเมินดวยดัชนี SPI แลเหมาะสมตอการนําไปใชประกอบการพิจารณา
               วางแผนปองกัน และบรรเทาแกไขปญหาภัยแลงไดทันตอเหตุการณ สวนวิธี SWI นั้นไมเหมาะสมตอกรณีนี้
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57