Page 53 - Management_agricultural_drought_2561
P. 53

46



                           ประวิทย (2553) ไดศึกษาเรื่องการวิเคราะหความเสี่ยงตอความแหงแลงในพื้นที่อําเภอ
               กําแพงแสน จังหวัดนครปฐม รวมทั้งหาสมการความสัมพันธระหวางปจจัยที่ใชในการศึกษากับความเสี่ยงตอ

               ความแหงแลง โดยมีปจจัยที่เกี่ยวของกับความแหงแลงไดแก  ปจจัยที่เกี่ยวกับ  ลักษณะทางธรรมชาติ คือ
               ปริมาณน้ําฝนตอป,ปริมาณน้ําบาดาล,ลักษณะเนื้อดิน และการระบายน้ําของดิน ปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะ
               ทางกายภาพที่มนุษยสรางขึ้น  ไดแก  คลองชลประทาน  และการใชประโยชนจากที่ดิน  โดยกําหนดให
               ผูเชี่ยวชาญจากหนวยงานภาครัฐที่เกี่ยวของจานวน  17  คน  ใหคะแนนความสําคัญ  ( Weighting)และคา

               น้ําหนักระดับปจจัย  (Rating)  ทําการศึกษาความสัมพันธระหวางความเสี่ยง  ตอความแหงแลงกับปจจัยที่มี
               อิทธิพลตอ ความเสี่ยงตอความแหงแลงดวยวิธีการวิเคราะหถดถอยเชิงเสน(Linear Regression Analysis) ที่
               ระดับความเชื่อมั่นรอยละ  95  และวิเคราะหความเสี่ยงตอ  ความแหงแลงในพื้นที่โดยการประยุกตใชระบบ
               สารสนเทศภูมิศาสตร  (Geographic  Information  System)ผลการศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเสี่ยงตอ

               ความแหงแลงในพื้นที่ศึกษาพบวา ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเสี่ยงตอความแหงแลงในพื้นที่อยางมีนัยสําคัญทาง
               สถิติที่ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95 มากที่สุดคือ การระบายน้ําของดิน โดยมีคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธเทากับ
               0.911  รองลงมาคือลักษณะเนื้อดิน  ซึ่งมีคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธเทากับ  0.852  สาหรับปจจัยอื่นๆ ที่ใชใน
               การศึกษามีคาความสัมพันธไมแตกตางกัน และผลการศึกษา ความเสี่ยงตอความแหงแลง

                     3.3.2  งานวิจัยเกี่ยวกับการประเมินความแหงแลง
                           อภิรัฐ และ บัญชา (2544) ไดประเมินความแหงแลงดวยดัชนีความแหงแลงโดยระบบสารสนเทศ
               ภูมิศาสตรในลุมน้ําแมกลอง ขอมูลที่นํามาวิเคราะหคือ ปริมาณน้ําฝนรายวัน จํานวนวันที่ฝนตก จํานวนวันที่

               ฝนทิ้งชวงสูงสุดรายป และการใชที่ดิน ดัชนีความแหงแลงรายป ที่เลือกใช คือ decile range ดัชนีความแหง
               แลงรายเดือน generalized monsoon index (GMI) และ aridity index จากการศึกษาสามารถระบุไดวา
               เขตที่มีสภาวะฝนแลงที่สุด คือ ลุมน้ํายอยลําตะเพิน
                           ชาญชัย และคณะ (2545) ไดกําหนดบริเวณพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแหงแลงในลุมน้ําทะเลสาบ
               สงขลา  โดยใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรและเทคโนโลยีการสํารวจระยะไกล  ปจจัยที่กําหนดคือ  ปริมาณ

               น้ําฝนรายป จํานวนวันที่ฝนตกตอป ระยะหางจากแหลงน้ํา แหลงน้ําใตดิน พืชพรรณที่ขึ้นปกคลุมดิน เนื้อดิน
               ความลาดชันของพื้นที่ ความหนาแนนของแมน้ํา โดยการกําหนดคาถวงน้ําหนักของปจจัย และคาคะแนนของ
               ประเภทขอมูลของแตละปจจัยมากําหนดพิสัย  3  ชวง  และจัดทําแผนที่โอกาสเกิดความแหงแลง  3  ระดับ

               พบวาพื้นที่ที่มีโอกาสเกิดความแหงแลงสูง มักพบบริเวณที่ราบขั้นบันไดทางดานตะวันตกของทะเลสาบ
                           อมเรศ (2546) ไดศึกษาสภาพความแหงแลงลุมน้ํายม โดยเริ่มจากการตรวจสอบสภาพความแหง
               แลงที่ผานมา คนหาสาเหตุ และความรุนแรงของสภาพความแหงแลงในแตละพื้นที่ โดยยึดหลักปริมาณน้ําที่มี
               ในพื้นที่โดยสภาพธรรมชาติคือน้ําฝนและน้ําทา เทียบกับการใชน้ําในกิจกรรมตางๆ ในแตละพื้นที่แลวกําหนด

               ดัชนีวัดความแหงแลงในแตละพื้นที่ลุมน้ํายม จากการศึกษาพบวา พื้นที่ลุมน้ํายมตอนลางในแมน้ํายมสายหลัก
               จะประสบปญหาขาดแคลนน้ําโดยเฉลี่ยเกือบทุกป และในรอบ 5-6 ป จะรุนแรงมากครั้งหนึ่ง สวนพื้นที่ที่อยู
               ไกลจากแมน้ําก็ประสบปญหาภัยแลงในชวงตนฤดูฝนและในฤดูแลง  เนื่องจากปริมาณฝนในชวงฤดูแลงมีคา
               นอยมากสวนในพื้นที่ลุมน้ํายมตอนบนประสบปญหาความแหงแลงนอยกวาตอนลาง  เนื่องจากปริมาณฝน

               โดยรวมสูงกวาพื้นที่อื่นๆ  และการใชน้ํายังอยูในเกณฑต่ํา  สวนน้ําอุปโภคบริโภคขาดแคลนมากในชวงฤดูแลง
               เกือบทุกพื้นที่ของลุมน้ํายม  แตจะขาดแคลนน้ําในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดแพร  นอกจากนี้ยังพบวาใน
               รอบ 40 ปที่ผานมา ลุมน้ํายมมีแนวโนมของฝนรายปลดลง 1-14 มิลลิเมตรตอป และปริมาณน้ําทาในฤดูแลง
               ลดลงตามลําดับ เนื่องจากมีการใชน้ําเพิ่มขึ้นอยางตอเนื่อง
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58