Page 65 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 65

56



                           วิภพ  (2549)  ไดศึกษาการประยุกตใชขอมูลดาวเทียมและระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเพื่อ
               วิเคราะหหาพื้นที่เสี่ยงตอความแหงแลงทางกายภาพของดินในอําเภอบานดานลานหอย  จังหวัดสุโขทัย  โดย

               การประยุกตใชดาวเทียมเพื่อสรางขอมูลตัวแปรเชิงพื้นที่และใชประกอบในการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหง
               แลง  ไดแกขอมูลการใชประโยชนจากที่ดิน  ขอมูลการคายระเหยน้ํา  ขอมูลระยะหางจากแหลงน้ํา  และการ
               ประยุกตใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตรเปนเครื่องมือในการจําลองขอมูลตัวแปรเชิงพื้นที่ ไดแก ปริมาณน้ําฝน
               จํานวนวันที่ฝนตก  ความชื้นสัมพันธ  อุณหภูมิอากาศ  การคายระเหยน้ํา  ศักยภาพของชั้นหินในน้ําของดิน

               ระยะหางแหลงน้ําผิวดิน  ความลาดชัน  ความสูงต่ําของพื้นที่  และความสามารถการระบายน้ําของดิน  จาก
               การศึกษาพบวาตัวแปรดานกายภาพที่สําคัญและเปนสาเหตุการเกิดความแหงแลงคือ  การระบายน้ําของดิน
               ระดับดี ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ย และการคายระเหยน้ํา โดยเฉพาะอยางยิ่งการระบายน้ําของดินระดับดีเปนตัวแปร
               ที่สําคัญที่สุดในการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหงแลง  และเมื่อศึกษาเปรียบเทียบการกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอ

               ความแหงแลงของทั้งสองวิธี พบวาการกําหนดคาคะแนนความแหงแลงมาตรฐานของทั้งสองวิธีการไมมีความ
               แตกตางกันที่ระดับนัยสําคัญ  0.05  และตรวจสอบความถูกตองของแผนที่การกําหนดพื้นที่เสี่ยงตอความแหง
               แลงโดยวิธีระบบผูเชี่ยวชาญและวิธีสถิติวิเคราะหการถดถอยพหุคูณและการสํารวจภาคสนาม  พบวามีความ
               ถูกตองโดยรวมเทากับรอยละ60 และ 66 ตามลําดับ

                           รัศมี  (2550)  ไดศึกษาแนวทางการวิเคราะหความแหงแลงดวยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร
               กรณีพื้นที่ศึกษาลุมน้ําเชิญ  โดยมีวัตถุประสงคเพื่อวิเคราะหปจจัยและเกณฑของปจจัยที่กอใหเกิดความแหง
               แลงและ สรางแบบจําลองเชิงพื้นที่เสี่ยงภัยแลงรวมทั้งเปรียบเทียบวิธีการวิเคราะหพื้นที่เสี่ยงภัยแบบเมทริกซ

               ดัชนีและมัลติเลเยอร โดยใชระบบสารสนเทศภูมิศาสตร โดยกําหนดปจจัยที่ใชเปน 3 กลุมคือ ปจจัยวินิจฉัยภัย
               แลงเชิงอุตุนิยมวิทยาไดแก ปริมาณน้ําฝนเฉลี่ยรายป ปจจัยวินิจฉัยภัยแลงเชิงอุทก ไดแก พื้นที่ชลประทานและ
               แหลงน้ําผิวดิน ความหนาแนนของการระบายน้ําและน้ําใตดิน ปจจัยวินิจฉัยภัยแลงเชิงกายภาพ ไดแกความ
               ลาดชัน การระบายน้ําของดิน และการใชประโยชนที่ดิน โดยจําแนกระดับความเสี่ยงภัยแลงเปน 4 ระดับ คือ
               ระดับความเสี่ยงมาก ปานกลาง นอย และนอยมาก ผลการศึกษาพบวาการวิเคราะหพื้นที่เสี่ยงภัยแลงดวยวิธี

               เมทริกซ ผูวิเคราะหสามารถใชความรูความชํานาญประสบการณเขามามีสวนรวมในการตัดสินใจ จะใหความ
               ถูกตองมากกวาใชวิธีการวิเคราะหโดยสมการทางคณิตศาสตร และเทคโนโลยีสารสนเทศภูมิศาสตร จะสามารถ
               จําลองพื้นที่เสี่ยงภัยแลงไดอยางมีประสิทธิภาพหากมีการปรับปรุงขอมูลใหทันเหตุการณและมีองคความรูใหม

               อยูเสมอ
                           ประวิทย (2553) ไดศึกษาเรื่องการวิเคราะหความเสี่ยงตอความแหงแลงในพื้นที่อําเภอ
               กําแพงแสน จังหวัดนครปฐม รวมทั้งหาสมการความสัมพันธระหวางปจจัยที่ใชในการศึกษากับความเสี่ยงตอ
               ความแหงแลง โดยมีปจจัยที่เกี่ยวของกับความแหงแลงไดแก  ปจจัยที่เกี่ยวกับ  ลักษณะทางธรรมชาติ คือ

               ปริมาณน้ําฝนตอป,ปริมาณน้ําบาดาล,ลักษณะเนื้อดิน และการระบายน้ําของดิน ปจจัยที่เกี่ยวของกับลักษณะ
               ทางกายภาพที่มนุษยสรางขึ้น  ไดแก  คลองชลประทาน  และการใชประโยชนจากที่ดิน  โดยกําหนดให
               ผูเชี่ยวชาญจากหนวยงานภาครัฐที่เกี่ยวของจํานวน  17  คน  ใหคะแนนความสําคัญ  ( Weighting)และคา
               น้ําหนักระดับปจจัย  (Rating)  ทําการศึกษาความสัมพันธระหวางความเสี่ยง  ตอความแหงแลงกับปจจัยที่มี

               อิทธิพลตอ ความเสี่ยงตอความแหงแลงดวยวิธีการวิเคราะหถดถอยเชิงเสน(Linear Regression Analysis) ที่
               ระดับความเชื่อมั่นรอยละ  95  และวิเคราะหความเสี่ยงตอ  ความแหงแลงในพื้นที่โดยการประยุกตใชระบบ
               สารสนเทศภูมิศาสตร  (Geographic  Information  System)ผลการศึกษาปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเสี่ยงตอ
               ความแหงแลงในพื้นที่ศึกษาพบวา ปจจัยที่มีอิทธิพลตอความเสี่ยงตอความแหงแลงในพื้นที่อยางมีนัยสําคัญทาง

               สถิติที่ระดับความเชื่อมั่นรอยละ 95 มากที่สุดคือ การระบายน้ําของดิน โดยมีคาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธเทากับ
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70