Page 61 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 61

52



                     3.2.2  ปรากฏการณลานีญา
                           1)  ความหมายของปรากฏการณลานีญา

                                ลานีญา คือ  ปรากฏการณที่กลับกันกับเอลนีโญ  กลาวคือ  อุณหภูมิผิวน้ําทะเลบริเวณ
               ตอนกลางและตะวันออกของแปซิฟกเขตศูนยสูตรมีคาต่ํากวาปกติ เนื่องจากลมสินคาตะวันออกเฉียงใตมีกําลัง
               แรงมากกวาปกติ  จึงพัดพาผิวน้ําทะเลที่อุนจากตะวันออกไปสะสมทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น  ทําใหบริเวณ
               ดังกลาวซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ําทะเลและระดับน้ําทะเลสูงกวาทางตะวันออกอยูแลวยิ่งมีอุณหภูมิและ

               ระดับน้ําทะเลสูงขึ้นไปอีก ปรากฏการณลานีญาเกิดขึ้นไดทุก 2 – 3 ป และปกติจะเกิดขึ้นนานประมาณ 9 –
               12 เดือน แตบางครั้งอาจปรากฏอยูไดนานถึง 2 ป (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2546ข)
                           2)  การเกิดปรากฏการณลานีญา
                                ปรากฏการณลานีญามีความแตกตางจากสภาวะปกติ นั่นคือ ลมสินคาตะวันออกเฉียงใตที่

               พัดปกคลุมเหนือมหาสมุทรแปซิฟกเขตรอนมีกําลังแรงมากกวาปกติและพัดพาผิวน้ําทะเลที่อุนจากตะวันออก
               ไปสะสมอยูทางตะวันตกมากยิ่งขึ้น ทําใหบริเวณแปซิฟกตะวันตก รวมทั้งบริเวณตะวันออกและตะวันออกเฉียง
               ใตของเอเชีย  ซึ่งเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ําทะเลสูงกวาทางตะวันออกอยูแลวยิ่งมีอุณหภูมิน้ําทะเลสูงขึ้นไปอีก
               อุณหภูมิผิวน้ําทะเลที่สูงขึ้นสงผลใหอากาศเหนือบริเวณดังกลาวมีการลอยตัวขึ้นและกลั่นตัวเปนเมฆและฝน

               สวนแปซิฟกตะวันออกนอกฝงประเทศเปรูและเอกวาดอรนั้นขบวนการไหลขึ้นของน้ําเย็นระดับลางไปสูผิวน้ํา
               (upwelling) จะเปนไปอยางตอเนื่องและรุนแรง อุณหภูมิที่ผิวน้ําทะเลจึงลดลงต่ํากวาปกติดังแสดงในภาพที่ 10

















                            สภาวะปกติ                                   สภาวะลานีญา

               ภาพที่ 10  สภาวะปกติ และ สภาวะลานีญา
               ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา (2546ข)

                         3) ผลกระทบจากปรากฏการณลานีญา

                           ผลกระทบจากปรากฏการณลานีญาในแตละพื้นที่ของโลกจะไมเหมือนกัน (ภาพที่  11) ซึ่ง
               ขึ้นอยูกับการตอบสนองตอปรากฏการณของแตละพื้นที่ บางแหงฝนมาก บางแหงฝนนอย หรือบางแหงอาจมี
               อุณหภูมิสูงขึ้นแตบางแหงมีอุณหภูมิลดลง  แตประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต  และออสเตรเลียจะมีฝน
               โดยเฉลี่ยมากขึ้น ซึ่งอาจมีการอุทกภัยเกิดขึ้นได ทั้งนี้เนื่องจากลมสินคาตะวันออกเฉียงใตที่พัดอยูเปนประจําใน

               แปซิฟกเขตรอนทางซีกโลกใต  มีกาลังแรงกวาปกติ  จึงพัดพาผิวน้ําทะเลที่อุนจากแปซิฟกเขตรอนตะวันออก
               บริเวณชายฝงเอกวาดอร  เปรู  และชิลีตอนเหนือ  ไปสะสมอยูทางแปซิฟกเขตรอนตะวันตก  บริเวณชายฝง
               อินโดนีเซียและออสเตรเลีย  มากยิ่งขึ้น  จึงทําใหทางแปซิฟกเขตรอนตะวันตกซึ่งแตเดิมมีอุณหภูมิผิวน้ําทะเล
               และระดับน้ําทะเลสูงกวาทางแปซิฟกเขตรอนตะวันออกอยูแลวกลับยิ่งมีอุณหภูมิผิวน้ําทะเลและระดับน้ําทะเล

               สูงกวาทางแปซิฟกเขตรอนตะวันออกมากขึ้นไปอีก ซึ่งมีผลทําใหทางแปซิฟกเขตรอนตะวันตกมีปริมาณฝนตก
               มากขึ้น  ขณะที่ทางแปซิฟกเขตรอนตะวันออกจะมีความแหงแลงมากขึ้นเชนกัน  นอกจากพื้นที่ในบริเวณเขต
   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66