Page 69 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 69

59



                                                         บทที่ 4


                                                      ผลการศึกษา


                     ปัจจุบันปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ถือเป็นปัญหาที่ส าคัญของประเทศอีกด้านหนึ่ง ซึ่งปัญหา

               ดังกล่าวนั้นอาจถือได้ว่าเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจ าทุกปี  ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การขาดแคลน
               น้ าจึงส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนที่ประกอบอาชีพการเกษตร และจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพ
               อากาศท าให้ฤดูฝนสั้นขึ้น ซึ่งหมายความว่า ฤดูแล้งจะยาวนานขึ้น และในพื้นที่ตอนบนของประเทศไทยจะมีปริมาณ
               ฝนตกน้อยลง ส่งผลให้ปริมาณน้ าในเขื่อนและอ่างเก็บน้ าทั่วประเทศมีปริมาณไม่เพียงพอส าหรับประชาชนใช้

               อุปโภคบริโภคและเพื่อการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน สิ่งที่เป็นปัญหาตามมา คือ ภาวะแห้งแล้ง
               และการขาดแคลนน้ า ท าให้ประชาชนต้องประสบความเดือดร้อนในหลายพื้นที่

               4.1  แนวโน้มภัยแล้ง
                     พ.ศ.2557  เป็นปีที่ประเทศไทยมีฝนน้อย  โดยมีปริมาณน้ าฝนเฉลี่ยต่ ากว่าค่าปกติซึ่งเฉลี่ยในคาบ  30  ปี
               ระหว่าง พ.ศ.2524 – พ.ศ. 2553 อย่างมาก (ภาพที่ 12)  รวมทั้งต่ ากว่า พ.ศ. 2556 ซึ่ง พ.ศ. 2557 มีปริมาณฝน

               เฉลี่ยรายปีน้อยกว่าค่าปกติ 67.3 มิลลิเมตร คิดเป็นร้อยละ 4.2 (ตารางที่ 14 และ ภาพที่ 13) โดยตลอดทั้ง
               พ.ศ. 2557 ไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยโดยตรง ปริมาณฝนในช่วงเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์
               ประเทศไทยมีฝนน้อยมาก  ในช่วงปลายเดือนมีนาคมปริมาณฝนค่อนข้างน้อยและการกระจายไม่สม่ าเสมอ  ท าให้

               พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศมีปริมาณฝนต่ ากว่าค่าปกติ   ฤดูฝนปีนี้เริ่มต้นช้ากว่าปกติโดยเริ่มประมาณปลายเดือน
               พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทย ท าให้บริเวณประเทศไทย
               ตอนบนมีฝนตกต่อเนื่องในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมส่วนภาคใต้มีฝนตกเกือบตลอดเดือนแต่ส่วนใหญ่เป็นฝน
               เล็กน้อยถึงปานกลาง  ส่งผลให้ปริมาณฝนรวมในเดือนพฤษภาคมตามภาคต่างๆต่ ากว่าค่าปกติและปริมาณฝนเฉลี่ย

               ทั้งประเทศต่ ากว่าค่าปกติ 31 เปอร์เซ็นต์ จากนั้นในเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคมประเทศไทยมีปริมาณฝน และ การ
               กระจายตัวของฝนดีขึ้น ท าให้ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศสูงกว่าค่าปกติ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
               ก าลังแรงที่พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทยเป็นระยะๆ ประกอบกับร่องมรสุมที่พาดผ่าน
               บริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางเดือนมิถุนายน  และปลายเดือนสิงหาคม  ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม

               ประเทศไทยได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากไต้ฝุ่น“รามสูร”(RAMMASUN  1409)  ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศเวียดนาม
               ตอนบนและอ่อนก าลังลงเป็นพายุโซนร้อนและพายุดีเปรสชั่นส่งผลให้เดือนนี้มีปริมาณฝนเฉลี่ยสูงกว่าค่าปกติ  13
               เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสูงที่สุดในช่วงฤดูฝนปีนี้    เมื่อเข้าสู่เดือนกันยายนปริมาณฝนรวมทั้งประเทศในเดือนนี้ต่ ากว่าค่าปกติ
               9.3 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงปลายปี (ตุลาคม ถึง ธันวาคม) ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนต่อเนื่องต้นฤดูหนาวของประเทศไทย

               ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศในเดือนตุลาคมต่ ากว่าค่าปกติ  ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนบริเวณประเทศไทยตอนบนมี
               ฝนส่วนมาก  โดยได้รับอิทธิพลจากพายุดีเปรสชันที่เคลื่อนตัวในบริเวณอ่าวเบงกอลและหย่อมความกดอากาศต่ าที่
               ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศพม่า   ส่วนเดือนธันวาคมภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นเกือบตลอดช่วงโดยเฉพาะทางฝั่ง

               ตะวันออกของภาค
   64   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74