Page 72 - คาดการณ์พื้นที่เกษตรเสี่ยงภัยแล้งปี2558
P. 72

62



                     สถานการณ์น้ า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 อ่างเก็บน้ าขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีปริมาตรน้ า
               รวมทั้งประเทศจ านวน 48,329 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 65 ของความจุที่ระดับน้ ากักเก็บ น้อยกว่า

               พ.ศ. 2556 จ านวน 8,543 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ าใช้การได้ 24,526 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ
               33 ของความจุที่ระดับกักเก็บ จึงมีแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงใน พ.ศ. 2558 จะเกิดขึ้นใน
               หลายพื้นที่ของประเทศไทย ส าหรับลุ่มน้ าเจ้าพระยา ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ.2557 อ่างเก็บน้ าหลักทั้ง 4
               อ่าง คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  มีปริมาณน้ ากักเก็บคงเหลือรวมกัน

               13,473 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 54 โดยเป็นปริมาณน้ าใช้การได้จริงเพียง 6,777 ล้านลูกบาศก์เมตร
               คิดเป็นร้อยละ 27  ของความจุที่ระดับกักเก็บ  (ส านักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 2557)  และจาก
               ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ว่าด้วยเรื่อง การเข้าสู่ฤดูหนาวของประเทศไทย พ.ศ. 2557 โดยประเทศไทยตอนบน
               ได้สิ้นสุดฤดูฝน และเข้าสู่ฤดูหนาว เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2557 กล่าวได้ว่าปริมาณฝนของประเทศไทยตอนบนลด

               น้อยลง ดังนั้นปริมาณน้ าที่จะไหลลงอ่างเก็บน้ าเพื่อเพิ่มปริมาณน้ าต้นทุนในการท าการเกษตรจะลดลงไปด้วย
                     การคาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะประสบความแห้งแล้งเป็นการคาดการณ์ในช่วงสิ้นฤดูฝน  กลางเดือน
               ตุลาคม  จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม  ของปีถัดไป โดยในช่วงเวลาดังกล่าวพื้นที่เกษตรนอกเขต
               ชลประทานที่อาศัยน้ าฝนเป็นหลัก จะงดการเพาะปลูก เนื่องจากมีปริมาณน้ าไม่เพียงพอต่อการท าการเกษตร

               แต่ยังคงมีพื้นที่ท าการเกษตรบางส่วนที่เป็นพืชอายุยาว เช่น ไม้ผล ไม้ยืนต้น ยังคงได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง
               ในด้านการเจริญเติบโตและ ผลผลิต ส่วนพื้นที่ท าเกษตรที่มีการเพาะปลูกในในช่วงสิ้นฤดูฝน กลางเดือนตุลาคม
               จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม ส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ชลประทาน โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าว จากการ

               วิเคราะห์ข้อมูลสภาพการใช้ที่ดิน พ.ศ. 2553-2556  ของประเทศไทยร่วมกับข้อมูลพื้นที่ชลประทาน พบว่า มี
               พื้นที่ที่มีสภาพการใช้ที่ดินเป็นนาข้าวอยู่ในเขตชลประทานประมาณ 18.27 ล้านไร่ ซึ่งการท านาตลอดฤดูกาล
               เพาะปลูกตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงเก็บเกี่ยวนั้น จะต้องใช้น้ าประมาณ 1,222  –  1,955  ลูกบาศก์เมตรต่อไร่
               (เกษร และ อารีรัตน์,  2549) ดังนั้นถ้ามีการท านาปรังเต็มพื้นที่นาในเขตชลประทาน ในช่วงสิ้นฤดูฝน
               กลางเดือนตุลาคม จนถึงก่อนช่วงฤดูฝนในเดือนพฤษภาคม จะต้องมีปริมาณน้ าต้นทุนเพื่อใช้ในการท านาปรัง

               ประมาณ 22,329.18 – 35,723.03  ล้านลูกบาศก์เมตร แต่เนื่องจากสถานการณ์น้ า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน
               พ.ศ.2557 ปริมาณน้ าที่ใช้การได้ในอ่างเก็บน้ าขนาดใหญ่ และขนาดกลาง มีเพียง 24,526 ล้านลูกบาศก์เมตร
               ซึ่งไม่เพียงพอกับความต้องการน ้าของข้าว ดังนั้นแนวโน้มสถานการณ์การท านาปรัง ในช่วงเดือนพฤศจิกายน

               พ.ศ. 2557 คาดการณ์ว่าถ้ามีการท านาเต็มพื้นที่นาข้าวในเขตชลประทานจะท าให้มีปริมาณน้ าไม่เพียงตลอด
               อายุข้าวที่ท าการเพาะปลูก เพื่อลดปัญหาการขาดแคลนน้ าเพื่อการเพาะปลูก ควรลดพื้นที่ท านาปรัง หรือท า
               การเปลี่ยนชนิดพืชเป็นพืชใช้น้ าน้อยแทน

               4.2  พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง

                     การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในที่นี้ได้ท าการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงตามลักษณะของปัจจัยที่ท าให้มีความ
               เสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้ง โดยจ าแนกพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

                     4.2.1   การวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงภัยแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา หมายถึงการวิเคราะห์พื้นที่ที่มีสภาพอุตุนิยมวิทยา
               ไม่เอื้ออ านวยต่อการเพาะปลูก ที่จะส่งผลกระทบในเรื่องของการขาดแคลนความชื้น โดยปัจจัยที่น ามาวิเคราะห์ ได้แก่

                           1)  พื้นที่แห้งแล้งตามปริมาณน้ าฝน และจ านวนวันที่ฝนตก หรือตามโอกาสที่ฝนตก ซึ่งใน พ.ศ.
               2557 มีพื้นที่ฝนตกน้อยกระจายตัวครอบคลุมพื้นที่ประเทศไทยโดยเฉพาะบริเวณตอนกลางของประเทศ ครอบคลุม
               พื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ด้านตะวันตกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกตอนบน และภาคใต้ตอนบน

               โดยพบว่าใน พ.ศ. 2557 มีปริมาณฝนรวมต่ าสุดเท่ากับ 610.3 มิลลิเมตร ตรวจวัดได้ที่สถานีอุตุนิยมวิทยาหัวหิน และ
   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76   77