Page 25 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 25
15
- มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Monsoon) มรสุมนี้ก่อให้เกิดอุทกภัยได้
เนื่องมาจากเมื่อพัดจากมหาสมุทรอินเดียปะทะขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ และเมื่อผ่านอ่าวไทยแล้วจะปะทะ
ขอบฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย มรสุมนี้เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดลงตอนต้นเดือนตุลาคม
ในระยะเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงจัด ความเร็วของลมอาจจะสูงถึง 30 น๊อต เป็นระยะเวลาหลายๆ วัน
คลื่นทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ใหญ่มาก เนื่องจากลมแรงจัดประการหนึ่งอีกประการหนึ่งอ่าวเบงกอลและ
มหาสมุทรอินเดีย มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไกลมาก คลื่นและลมจึงพัดพาน้ําทะเลในอ่าวเบงกอลมาสะสมทาง
ขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ตลอดฝั่ง ทําให้ระดับน้ําในทะเลตามขอบฝั่งสูงขึ้นมากจากระดับน้ําทะเลปานกลาง
ในฤดูนี้และในระยะเดียวกัน ถ้าเกิดพายุดีเปรสชันขึ้นในอ่าวเบงกอลทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ จากความ
กดอากาศต่ําในบริเวณพายุและจากฝนที่ตกหนักบนภูเขาและชายฝั่งรวมเข้าด้วยกันแล้ว จะทําให้เกิดระดับน้ํา
ในทะเลและแม่น้ําสูงจนเป็นน้ําท่วมและเกิดอันตรายได้
- มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast monsoon) เริ่มตั้งแต่ปลายเดือน
ตุลาคมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ ตั้งต้นพัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านทะเลจีนใต้ปะทะขอบฝั่งเวียดนาม
ส่วนที่หลุดจากปลายแหลมอินโดจีนจะพัดผ่านอ่าวไทยตอนใต้ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้ หรือฝั่ง
ตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่ใต้สงขลาลงไป มรสุมนี้มีกําลังแรงจัดเป็นคราวๆ เมื่อบริเวณความกดอากาศสูง
ในประเทศจีนมีกําลังแรงขึ้น ลมในทะเลจีนใต้มีความเร็วถึง 30-35 น๊อต ( 52 กม. ถึง 64 กม.) แต่เนื่องด้วย
มรสุมนี้ปะทะขอบฝั่งเวียดนามเป็นส่วนใหญ่ จึงทําให้ลมมรสุมที่พัดผ่านเข้ามาในอ่าวนั้น มีช่วงระยะที่ลม
เคลื่อนที่ไม่ได้ไกล จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเป็นแต่เพียงคลื่นค่อนข้างใหญ่และระดับน้ําสูงกว่า
ปกติแต่ก็ไม่สูงมากนัก ลมที่พัดแหลมญวนและทางใต้ลงไปจะทําให้เกิดผลทางขอบชายฝั่งตะวันออกของภาคใต้
ตั้งแต่ใต้สงขลาลงไปได้มากเช่นเดียวกัน คือ ทําให้เกิดคลื่นใหญ่มาก และระดับน้ําสูงจากปกติมากจนอาจ
จะเกิดเป็นน้ําท่วมได้
3.3.1.2 น้ําจากแหล่งเก็บกักน้ําหรือระบบควบคุม (Control System) เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ํา
ประตูระบายน้ํา ฝายทดน้ํา ฯลฯ โดยสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทําให้น้ําท่วมคือ (1) การระบายน้ําส่วนเกินในปริมาณ
มากทิ้งออกไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อแหล่งเก็บกักน้ําดังกล่าว กรณีนี้จะทําให้เกิดน้ําท่วมพื้นที่ลุ่ม
สองฝั่งลําน้ําด้านท้ายน้ําในลักษณะค่อย ๆ ท่วม และ (2) น้ําท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุมดังกล่าว
เช่น เขื่อนพัง อ่างเก็บน้ําแตก ประตูระบายน้ําไม่อาจทําหน้าที่ได้ กรณีนี้จะก่อให้เกิดน้ําหลาก มีความรุนแรง
มากกว่าน้ําป่าและความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน
3.3.1.3 น้ําท่วมจากน้ําทะเลหนุน เกิดในพื้นที่อยู่ติดทะเล ลักษณะการท่วมเกิดจาก
ระดับน้ําทะเลยกตัวสูงในช่วงน้ําขึ้นแล้วท่วมพื้นที่โดยตรงกับน้ําทะเลไหลย้อนเข้าสู่ลําน้ํา เพิ่มระดับน้ําในลําน้ํา
ที่ระบายน้ําจากลุ่มน้ําตอนบนขึ้นไปสูงขึ้นจนเอ่อออกท่วมพื้นที่สองฝั่ง และเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ํา
ของพื้นที่ลุ่มน้ําตอนบนดังกล่าวซึ่งหากเกิดน้ําท่วมในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วน้ําก็จะยิ่งท่วมนานยิ่งขึ้น
3.4 อันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย
- น้ําท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทําให้เกิด
ความเสียหาย ทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ําที่ไหล
เชี่ยวพัดพังทลายได้ คน สัตว์ พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ําตาย