Page 28 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 28
18
- ปี 2550 อุทกภัยเริ่มมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2550 ซึ่งมีพื้นที่ประสบอุทกภัยทั้งทางภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกและภาคกลาง โดยส่งผลให้เกิดภาวะน้ําล้นชายฝั่งของแม่น้ําสายหลัก
เช่น แม่น้ําปิง วัง ยม น่าน ป่าสัก และเจ้าพระยา เป็นต้น ทําให้หลายพื้นที่มีสภาพน้ําท่วมขัง ประกอบกับ
มีการผันน้ําเข้าเก็บกักเอาไว้ในพื้นที่ว่างเพื่อบรรเทาปัญหาน้ําท่วมโดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรในจังหวัดชัยนาท
สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี และปทุมธานี ประกอบกับอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น"เลกีมา" ที่
พัดผ่านประเทศไทย ทําให้เกิดฝนตกหนักติดต่อ กันในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคเหนือ
และภาคกลาง ทําให้เกิดปัญหาน้ําท่วมหนักส่งผลต่อพื้นที่ทางการเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่ม
ถูกน้ําท่วมขังสร้างความเสียหายต่อผลผลิตอย่างมาก ทั้งนี้พบว่ามีพื้นที่ประสบภัยน้ําท่วม 2,466,590 ไร่
จาก 28 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ลําพูน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย ตาก กําแพงเพชร พิจิตร
นครสวรรค์ อุทัยธานี สิงห์บุรี ลพบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น ชัยภูมิ หนองคาย มุกดาหาร
ร้อยเอ็ด อํานาจเจริญ หนองบัวลําภู มหาสารคาม เลย อุบลราชธานี กาฬสินธุ์ และนครราชสีมา ซึ่งมีพื้นที่นาข้าว
ที่คาดว่าจะเสียหาย 1,422,774 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 58 ของพื้นที่ประสบภัยทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นพืชไร่ ไม้ผล
ไม้ยืนต้นและพืชอื่น
- ปี 2551 ประเทศไทยมีฝนตกชุกต่อเนื่องจากปีที่แล้ว ปริมาณฝนรวมตลอดปีสูงกว่าค่าปกติ
เกือบทุกภาคของประเทศ นอกจากนี้ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากพายุหมุนเขตร้อนที่เคลื่อนเข้าใกล้ประเทศไทย
ได้แก่ พายุไซโคลน “นาร์กีส” ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศพม่า ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม พายุโซนร้อน “คัมมูริ”
ที่เคลื่อนเข้าสู่ประเทศเวียดนามตอนบนในช่วงต้นเดือนสิงหาคม และพายุโซนร้อน “นูล” ที่เคลื่อนเข้าสู่
ประเทศกัมพูชาในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน โดยในปีนี้มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทย
เพียง 1 ลูก คือพายุดีเปรสชันที่อ่อนกําลังลงจากพายุโซนร้อน “เมขลา” ได้เคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
บริเวณจังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 30 กันยายนแล้วอ่อนกําลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ําปกคลุมบริเวณ
ภาคเหนือตอนกลางและสลายตัวไปในวันต่อมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีปริมาณและการกระจายของฝน
เพิ่มขึ้นกับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว โดยช่วงกรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม มีอิทธิพล
ของหย่อมความกดอากาศต่ําบริเวณภาคเหนือตอนบน ทําให้เกิดฝนตกหนักในพื้นที่จังหวัดเชียงราย น่าน
พิษณุโลก เพชรบูรณ์ เป็นผลทําให้เกิดน้ําท่วมในบริเวณดังกล่าว โดยฝนตกติดต่อกันหลายวันส่งผลให้ระดับน้ํา
ในแม่น้ําน่านเพิ่มขึ้น และเริ่มเอ่อเข้าท่วมพื้นที่ อ.ท่าวังผา จ.น่าน ส่วนช่วงเดือนกันยายน อิทธิพลของ
ร่องความกดอากาศต่ํากําลังแรงพาดผ่านบริเวณภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ทําให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนัก ส่งผลให้เกิดจากน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่า
ไหลหลากหลายพื้นที่ ทําให้เกิดความเสียหายแก่พื้นที่การเกษตรจํานวน 38 จังหวัด โดยมีพื้นที่การเกษตร
ที่ได้รับความเสียหายประมาณ 2,531,624 ไร่ โดยจังหวัดที่มีพื้นที่การเกษตรเสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัด
ลพบุรี นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 31 ตุลาคม - 1 พฤศจิกายน 2551 อิทธิพลของหย่อมความกดอากาศต่ํา
กําลังค่อนข้างแรงปกคลุมภาคกลางของประเทศไทยและเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกตามแนวร่อง
ความกดอากาศต่ําที่พาดผ่านภาคกลาง และภาคตะวันออก ทําให้มีฝนตกชุก และฝนตกหนักต่อเนื่องใน
บางพื้นที่โดยเฉพาะ ในภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากภาวะดังกล่าวทําให้เกิดน้ําท่วม
ฉับพลัน และน้ําป่าไหลหลาก อีกทั้งยังเป็นเหตุให้ระดับน้ําในแม่น้ําปิง แม่น้ําวัง แม่น้ําเจ้าพระยา และแม่น้ําชี
มีระดับสูงขึ้น ทําให้กรมชลประทานได้ระบายน้ําท้ายเขื่อนในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้น้ําเอ่อล้นตลิ่งเข้า
ท่วมบ้านเรือน และพื้นที่การเกษตรที่อยู่ติดกับริมฝั่งของแม่น้ําในหลายจังหวัด เช่น จังหวัดตาก สิงห์บุรี
อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ชัยภูมิ มหาสารคาม รวมทั้งสภาวะน้ําท่วมในภาคใต้ เนื่องจากพายุโซนร้อน “นูล”