Page 30 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 30

20


                        - ปี 2554 เกิดอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย ซึ่งเกิดผลกระทบต่อบริเวณ
               ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาและลุ่มน้ําโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

               (แต่การฟื้นฟูยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน) อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในด้าน
               ของปริมาณน้ําและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบ อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อพายุหมุนนกเตนขึ้น
               ฝั่งทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ
               ไทย และทําให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม เกิดอุทกภัยใน 16 จังหวัด ขณะที่ฝน

               ยังคงตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานก็เกิดอุทกภัยทางภาคใต้ เมื่อแม่น้ําเจ้าพระยาได้รับน้ําปริมาณ
               มากจากแม่น้ําสาขา จึงส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 จังหวัดยังได้รับ
               ผลกระทบและเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติมเนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ําใกล้หรือเกินความจุทําให้ต้องเร่ง
               ระบายน้ําออกจากเขื่อนโดยก่อนหน้านี้ได้เกิดอุทกภัยและดินถล่มทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่

               23 มีนาคมแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน และสร้างความเสียหายมากมาย
               ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนหลายภาคส่วนของประเทศจึงมักเกิดน้ําท่วมฉับพลันตามฤดูกาล อุทกภัยมักเริ่มขึ้น
               ในภาคเหนือแล้วค่อยขยายวงลงมาตามแม่น้ําเจ้าพระยาผ่านที่ราบภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               ตามแม่น้ําชีและมูลซึ่งไหลลงแม่น้ําโขง หรือในพื้นที่ลาดเขาชายฝั่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนที่เหลือ

               ของพายุหมุนเขตร้อนซึ่งพัดถล่มประเทศเวียดนามหรือคาบสมุทรทางใต้เพิ่มปริมาณน้ําฝนโดยทั่วไป ซึ่งส่งผล
               ให้เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้นไปอีก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบควบคุมการระบายน้ํา รวมถึงเขื่อน
               หลายแห่งคลองชลประทานและพื้นที่รับน้ํา(แก้มลิง) แต่ยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสียหายอันเกิดจาก

               อุทกภัย
                       -  ปี 2555 เริ่มเกิดอุทกภัยขึ้นในภาคเหนือและภาคใต้ซึ่งเริ่มมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือน

               พฤษภาคมเนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนประกอบกับ
               มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทยซึ่งทําให้ทั่วทุกภาค     ของ
               ประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่งโดยวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ได้เกิดพายุ   ฝนฟ้า

               คะนองพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายทําให้ จ.สงขลา ได้ประกาศให้พื้นที่ 4 อําเภอ  ของจ.
               สงขลา เป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน ประกอบด้วย อ.หาดใหญ่ นาหม่อม สะเดา และ อ.คลอง7หอยโข่ง   และเมื่อ
               วันที่ 6  มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ คือ จังหวัดกระบี่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร
               และสุราษฎร์ธานี

                       -  ปี 2556  จากอิทธิพลพายุดีเปรสชั่นบริเวณทะเลจีนใต้ตอนกลาง อ่อนกําลังลงเป็นหย่อมความกด

               อากาศต่ําเคลื่อนตัวเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคกลางของประเทศไทย ทํา
               ให้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากส่งผลให้เกิดอุทกภัย น้ําป่าไหลหลาก น้ําท่วมขังระบายไม่ทัน และ
               น้ําล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 17 กันยายน 2556 จนถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2556 โดยมีพื้นที่ประสบภัย รวมทั้งสิ้น 47
               จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์ ศรีสะเกษ อุบลราชธานี อํานาจเจริญ บุรีรัมย์ ยโสธร ชัยภูมิ ขอนแก่น มุกดาหาร

               กาฬสินธุ์ นครราชสีมา พิษณุโลก พิจิตร กําแพงเพชร อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี เชียงใหม่
               เชียงราย ลําปาง แม่ฮ่องสอน พะเยา นครนายก ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี สระแก้ว จันทบุรี ชลบุรี ระยอง ชุมพร
               ระนอง ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี สระบุรี ลพบุรี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง
               สิงห์บุรี ราชบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ นนทบุรี และจังหวัดนครปฐม รวม 360 อําเภอ 2,350 ตําบล 19,941

               หมู่บ้าน และมีพื้นที่การเกษตรเสียหายประมาณ 3,644,986 ไร่
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35