Page 26 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 26
16
- เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดขาดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของ
กระแสน้ํา ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ําพัดให้พังทลายได้ ยานพาหนะวิ่งรับส่งสินค้าไม่ได้ทําให้เกิด
ความเสียหายทางเศรษฐกิจ
- ระบบสาธารณูปโภคจะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า ประปา
ระบบการระบายน้ํา ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ และโรงเรียน เป็นต้น
- พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ที่กําลัง
ให้ผลผลิตอาจถูกน้ําท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยงตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุนหรือมีไว้เพื่อทําพันธุ์
จะได้รับความเสียหาย
- ความเสียหายทางเศรษฐกิจรายได้ของประเทศลดลง รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจาก
การซ่อมบูรณะซ่อมแซมและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและเกิดข้าวของแพงทั่วไป
- ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะเกิดอุทกภัยขาดน้ําดีน้ําใช้
ในการอุปโภคบริโภค ขาดความสะดวกด้านห้องน้ํา ห้องส้วม ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ํากัดเท้า โรคอหิวาตกโรค
รวมทั้งโรคเครียดมีความวิตกกังวลสูงและโรคประสาทตามมา
- ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกที่หนัก น้ําที่ท่วมขึ้นมาบนแผ่นดิน
และกระแสน้ําที่ไหลเชี่ยวทําให้เกิดดินถล่มได้ นอกจากนั้นผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จะถูกน้ําพัดพาลงสู่ที่ต่ํา
ทําให้ดินขาดปุ๋ยธรรมชาติและแหล่งน้ําเกิดการตื้นเขิน
3.5 สถานการณ์การเกิดอุทกภัยที่ผ่านมา
ในระยะเวลาที่ผ่านมา พื้นที่หลายแห่งของประเทศประสบกับภาวะน้ําท่วม ซึ่งคาดว่าจะทวีความ
รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานซ้ําซากโดยการเกิดน้ําท่วมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึง
ปัจจุบันสามารถสรุปได้ดังนี้
- ปี 2545 ในช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน มีพายุฝนที่เกิดจากร่องความกดอากาศ
ต่ําในพื้นที่ลุ่มน้ําชีและมูลอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่เกิดปริมาณน้ําไหลหลาก
แต่เนื่องจากลุ่มน้ําไม่สามารถรองรับปริมาณน้ําและระบายได้ทันจึงไหลท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ และประกอบกับ
เป็นช่วงที่ระดับน้ําทะเลหนุนสูงขึ้น ทําให้เกิดน้ําท่วมกระจายในพื้นที่ลุ่มน้ําทั้งสองเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุม
10 จังหวัด บริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และยโสธร ทําให้มีพื้นที่
การเกษตรเสียหายประมาณ 3 ล้านไร่ จากนั้นช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมได้เกิดน้ําท่วมเสียหายเป็นบริเวณกว้าง
ในบริเวณภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน รวม 58 จังหวัด ทําให้พื้นที่การเกษตร
ได้รับความเสียหายประมาณ 9 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหาย 6,200 ล้านบาท โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรี
เจอน้ําป่าทะลักจากจังหวัดเพชรบูรณ์ ทําให้น้ําเข้าท่วมถึงเขตเทศบาลตําบลลํานารายณ์
- ปี 2546 ในช่วงกลางเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่พาดผ่านประเทศไทยและ
ขึ้นฝั่งที่ จ.เพชรบุรีในวันที่ 23 ตุลาคม 2546 ส่งผลให้จังหวัดเพชรบุรีและบริเวณภาคใต้ตอนบนมีฝนตก
หนัก เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลากได้ในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่เสี่ยงภัย โดยเฉพาะบริเวณจังหวัด
เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี จากนั้นช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม
หย่อมความกดอากาศต่ํากําลังแรงซึ่งมีกลุ่มฝนหนาแน่นปกคลุมบริเวณอ่าวไทยในทางด้านตะวันออกของ
จังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย ทําให้ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย
บริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง และสงขลา มีฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนัก
ในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลากเพิ่มมากขึ้น พื้นที่การเกษตร
ของประชาชน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก