Page 23 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 23

13


                                                         บทที่ 3

                                           ปัญหาและผลกระทบจากอุทกภัย


               3.1 ความหมายของอุทกภัย

                   อุทกภัย/น้ําท่วม คือ ภัยและอันตรายที่เกิดจากสภาวะน้ําท่วมหรือน้ําท่วมฉับพลัน มีสาเหตุมาจากการเกิดฝน
               ตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานานซึ่งอาจเนื่องมาจากหย่อมความกดอากาศต่ํา  พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่

               พายุดีเปรสชั่น,  พายุโซนร้อน,  พายุใต้ฝุ่น    ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ํา    ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
               ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และเขื่อนพังเป็นต้น
               3.2 ลักษณะของอุทกภัย

                      ลักษณะของอุทกภัยมีความรุนแรง และรูปแบบต่างๆ กันขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ  และ
               สิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้
                       3.2.1  น้ําป่าไหลหลาก หรือน้ําท่วมฉับพลัน  มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ําหรือที่ราบลุ่มบริเวณใกล้ภูเขา
               ต้นน้ํา ที่ราบระหว่างหุบเขา เช่น บริเวณต้นน้ําซึ่งมีความชันของพื้นที่มาก พื้นที่ป่าที่ถูกทําลายไปทําให้การกักเก็บน้ํา

               หรือการต้านน้ําลดน้อยลง เกิดขึ้นเนื่องจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทําให้จํานวนน้ําสะสม
               มีปริมาณมากจนพื้นดินและต้นไม้ดูดซับไม่ไหวน้ําจึงไหลบ่าลงสู่ที่ราบต่ําด้านล่างอย่างรวดเร็วและรุนแรง
               ทําให้บ้านเรือนพังเสียหายและอาจทําให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้

                      3.2.2  น้ําท่วม หรือน้ําท่วมขัง เป็นลักษณะของอุทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ําสะสมจํานวนมาก
               ที่ไหลบ่าในแนวระนาบ จากที่สูงไปยังที่ต่ําเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน  พืชสวนไร่นาได้รับความเสียหายหรือ
               เป็นสภาพน้ําท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน  มีสาเหตุมาจากระบบ
               การระบายน้ําไม่ดีพอ มีสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางระบายน้ํา หรือเกิดน้ําทะเลหนุนสูงกรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล

                      3.2.3  น้ําล้นตลิ่ง  เกิดขึ้นจากปริมาณน้ําจํานวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่องที่ไหลลงสู่ลําน้ํา  หรือ
               แม่น้ํามีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ําด้านล่างหรือออกสู่ปากน้ําไม่ทัน  ทําให้เกิดสภาวะน้ําล้นตลิ่งเข้าท่วม
               เรือกสวน ไร่นาและบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ําจนได้รับความเสียหายถนนหรือสะพานอาจชํารุด ทางคมนาคม
               ถูกตัดขาดได้ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2556)

               3.3 ปัญหาและสาเหตุของการเกิดอุทกภัย
                       การพิจารณาในเรื่องการเกิดน้ําท่วมนั้นอาจพิจารณาปัจจัย 2 ประเด็น คือ พิจารณาปัญหาหรือ
               สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดน้ําท่วมและพิจารณาถึงปัจจัยที่เป็นสาเหตุที่ทําให้เกิดน้ําท่วม

                       3.3.1 ต้นเหตุท้าให้เกิดน ้าท่วม แบ่งได้ 3 กรณี คือ จากน้ําฟ้า น้ําจากแหล่งเก็บกักน้ํา และน้ําทะเลหนุน
                              3.3.1.1  น้ําท่วมจากน้ําฟ้า (Precipitation)  ซึ่งน้ําฟ้าหมายถึง สภาวะของน้ําที่ตกลงมาจาก
               ท้องฟ้า อาจจะเป็นลักษณะ ฝน หิมะ ละอองหรือลูกเห็บ โดยทั่วไปแล้วถือว่าฝนเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิด

               อุทกภัย และฝนที่มีปริมาณมากจนทําให้เกิดอุทกภัยได้นั้นมาจากหย่อมความกดอากาศต่ํา พายุฝน ร่องมรสุม
               และลมมรสุมซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ ๆ ได้ดังนี้คือ
                                     3.3.1.1.1  พายุฝนฟ้าคะนอง มีลักษณะเป็นลมพัดย้อนไปมาหรือพัดเคลื่อนตัวไปใน

               ทิศทางเดียวกัน อาจเกิดจากพายุที่อ่อนตัวและลดความรุนแรงของลมลง หรือเกิดจากหย่อมความกดอากาศต่ํา
               ร่องความกดอากาศต่ําอาจไม่มีทิศทางที่แน่นอน หากสภาพแวดล้อมต่างๆ ของการเกิดฝนเหมาะสมก็จะเกิด

               ฝนตกมีลมพัด
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28