Page 19 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 19
10
รูปที่ 2.2 แสดงขอบเขตลุ่มน้ าที่ส าคัญในภาคเหนือ
2.6 ทรัพยากรป่าไม้และพืชพรรณธรรมชาติ
ป่าไม้ในภาคเหนือ สามารถแบ่งออกได้ดังนี้
2.6.1 ป่าดงดิบ (Evergreen forest)
ในภาคเหนือจะมีป่าชนิดนี้อยู่ทั่วไป ทั้งในที่ราบและภูเขาปะปนกับป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง
ส่วนมากมักขึ้นอยู่ตามที่ราบริมห้วย ริมธาร ซึ่งมีลักษณะดินและความชุ่มชื้นเหมาะสมกับความเจริญเติบโตของ
ไม้ในป่าประเภทนี้ ที่ขึ้นอยู่ตามเนินเขามีบ้างเป็นบางแห่งโดยอาศัยชนิดดินที่เหมาะสมเป็นปัจจัยส าคัญ
แต่ตามปกติจะขึ้นอยู่ในระดับสูงไม่เกิน 1,000 เมตร จากระดับน้ าทะเล ถ้าสูงจากระดับนี้ไปมักเป็นป่าดงดิบเขา
2.6.2 ป่าดงดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
ป่าชนิดนี้เกิดอยู่ในที่ที่มีอากาศเย็นบนภูเขาสูง ในระดับความสูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ
1,000 เมตรขึ้นไป มีไม้จ าปีและไม้เมืองหนาวขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ ๆ ถูกถางเพื่อท าไร่เลื่อนลอย ซึ่งปัจจุบันได้
มีการส่งเสริมการปลูกผักและผลไม้เมืองหนาว และให้ชาวไทยภูเขาท าการเกษตรอยู่กับที่ ป่าชนิดนี้ส่วนมาก
จะอยู่ทางภาคเหนือ ส่วนภาคอื่นมีอยู่บ้างกระจัดกระจาย
2.6.3 ป่าสนหรือป่าสนเขา (Pinus Forest)
ป่าสนโดยทั่วไปมักจะขึ้นอยู่ในดินที่ไม่อุดมสมบูรณ์หรือเป็นกรด เช่น ตามสันเขา ที่ค่อนข้าง
แห้งแล้งเป็นต้น และขึ้นที่ระดับความสูง 700-1,000 เมตร โดยสนสองใบขึ้นได้ในระดับที่ต่ ากว่าสนสามใบ
แม้ว่าส่วนใหญ่จะมีป่าสนขึ้นอยู่ในภาคเหนือ แต่บางทีก็อาจพบว่ามีขึ้นอยู่ระดับตั้งแต่ประมาณ 200 เมตร ขึ้นไป
มีทั้งที่ขึ้นปะปนอยู่กับไม้ชนิดอื่น เช่น รัง เต็ง เหียง พลวง หรือขึ้นเป็น ป่าสนล้วน