Page 16 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 16

7


               2.4 ทรัพยากรดิน

                       สภาพโดยทั่วไปของภาคเหนือเป็นเทือกเขาสูงสลับกับที่ราบระหว่างหุบเขาหรือที่ราบบริเวณสองฝั่ง
               แม่น้ าสายใหญ่ ลักษณะดินที่พบส่วนใหญ่จึงเป็นดินที่มีพัฒนาการไม่มากนัก ในดินยังคงมีธาตุอาหารที่
               เป็นประโยชน์ต่อพืช อยู่ในระดับที่ไม่ต่ าจนเกินไป  ดินในบริเวณที่ราบหรือค่อนข้างราบเป็นดินที่มีศักยภาพ

               ทางการเกษตรอยู่ในระดับปานกลางถึงสูง แต่ข้อจ ากัดของพื้นที่ภาคเหนือที่ส าคัญคือเป็นพื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน
               มีพื้นที่ภูเขา และเทือกเขาต่างๆ ที่มีความลาดชันมากกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไปครอบคลุมเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งพื้นที่
               เหล่านี้จัดว่ามีความเสี่ยงต่อการชะล้างพังทลายสูง ไม่เหมาะสมส าหรับท าการเกษตร นอกจากนี้พื้นที่ที่มี
               ความลาดชันค่อนข้างสูงยังท าให้เกิดดินประเภทต่างๆ เป็นจ านวนมาก โดยส่วนใหญ่ที่พบตามแถบภูเขา ที่สูง

               จะเป็นดินที่ผุพังจากหินประเภทต่างๆ ส่วนในบริเวณหุบเขาหรือแอ่งแผ่นดินจะมีทรัพยากรดินที่สมบูรณ์กว่า
               เพราะน้ าจะพาตะกอนไหลเข้ามาทับถมกันท าให้เนื้อดินมีความอุดมสมบูรณ์มากกว่าบริเวณอื่นๆ ความเหมาะสม
               ของการใช้ทรัพยากรดินในพื้นที่ภาคเหนือที่เป็นภูเขาจะมีดินที่เหมาะแก่การเพาะปลูกเพียงร้อยละ 20 ของพื้นที่
               เท่านั้น ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณที่ราบตามชายฝั่งแม่น้ าสายใหญ่ มีดินตะกอนน้ าพาที่ใช้เพาะปลูกได้ดี อย่างไร

               ก็ตามลักษณะภูมิประเทศที่แตกต่างกันนี้อาจแบ่งกลุ่มของดิน ได้ดังนี้
                        2.4.1 ดินในบริเวณที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงพบตามบริเวณพื้นที่ราบเรียบตามฝั่งแม่น้ าสายใหญ่ ที่ไหลลงสู่
               ที่ราบและไหลคดเคี้ยวไปมาท าให้เกิดล าน้ าแยกหลายสาย  แล้วไหลไปรวมประสานกันใหม่มักทิ้งร่องรอยของ

               ล าน้ าเก่าให้เห็น  ที่ราบลุ่มน้ าท่วมถึงนี้ประกอบด้วยแอ่งหรือมาบล าน้ า  และอาจมีสันหรือคันดินริมน้ า
               เป็นแนวยาวตลอดฝั่งน้ า ซึ่งมีพื้นที่เป็นลูกคลื่นและอยู่สูงกว่าระดับน้ าในแม่น้ า  ดินที่พบในบริเวณดังกล่าวคือ
               กลุ่มดินตะกอนล าน้ าหรือดินตะกอนน้ าพา (Alluvial soils) เป็นดินตะกอนน้ าพามาสะสมไว้ในบริเวณที่ราบลุ่ม
               น้ าท่วมถึงและยังมีอายุน้อย  ชั้นของดินยังไม่ชัดเจนมีทั้งดินที่มีการระบายน้ าค่อนข้างดีซึ่งเกิดในบริเวณสันดิน
               ริมน้ า  เป็นดินร่วนปนทราย มีสีน้ าตาล  ใช้ประโยชน์เป็นที่สร้างบ้านเรือนอยู่อาศัยและปลูกพืชสวนครัวได้

               ส่วนดินที่มีการระบายน้ าไม่ดี มีน้ าแช่ขัง จะอยู่ตามมาบล้ าน้ า มีพื้นที่ราบเรียบและมีระดับต่ ากว่า พวกแรกเป็น
               ดินตะกอนเนื้อละเอียดมากมีสีเทาซึ่งใช้ประโยชน์ในการท านาได้ดี
                        2.4.2  ดินในบริเวณลานตะพักน้ า  ตะพักล าน้ าอาจมีระดับต่างๆ กันที่เรียกว่า ตะพักระดับต่ า

               ตะพักระดับกลาง  และตะพักระดับสูง ดินบนตะพักนี้เป็นดินตะกอนที่มีอายุมาก  ส่วนใหญ่เป็นดินที่แบ่งชั้น
               ชัดเจน เป็นดินร่วนค่อนข้างละเอียด  มีสีน้ าตาลจนถึงน้ าตาลปนแดง ถ้าเป็นดินตะพักล าน้ าระดับต่ า  มีการ
               ระบายน้ าไม่ดีก็ใช้ท านาได้และอาจใช้ปลูกพืชไร่ในฤดูแล้งได้ ถ้ามีน้ าจากชลประทานเพียงพอ ส่วนดินตะพักน้ า
               บริเวณสันริมน้ าเก่า  มีความอุดมสมบูรณ์ถึงดีปานกลางเหมาะสมในการปลูกพืชสวนและพืชไร่  แต่ไม่ค่อยพบ

               ในบริเวณกว้างขวางมากนัก ดินที่พบในตะพัก ล าน้ าสูงขึ้นไปจะอยู่ในพื้นที่ระดับแตกต่างกันตั้งแต่ลักษณะ
               เป็นลูกคลื่นจนถึงที่แบบภูเขา  แต่ยังเป็นดินที่มีการระบายน้ าได้ มีดินเกรย์พอดโซลิกสีเทา (Grey  Pordzolic
               soils)  สูงขึ้นไปเป็นดินเรดเยลโล่พอดโซลิก (Red-yellow  Podzolic  soilz)  และมักมีปฏิกิริยาเป็นกรด
               ปานกลางจนถึงเป็นกรดจัด กลุ่มดินนี้เกิดจากวัตถุต้นก าเนิดเนื้อหยาบหรือเป็นดินปนทรายจนถึงเป็นทรายจัด

               ดินในบริเวณนี้ส่วนมากปกคลุมด้วยป่าแดง แต่ป่าถูกโค่นถางเพื่อท าไร่มากขึ้น  ท าให้เกิดปัญหาดินถูกชะล้าง
               เสื่อมคุณภาพ ขาดน้ าในฤดูแล้ง  มีการสูญเสียหน้าดินอย่างรวดเร็ว ไม่ควรปล่อยพื้นที่ให้ว่าง  ขณะที่ยังไม่ถึง
               ฤดูปลูกพืช การใช้ประโยชน์ต้องระมัดระวังควรมีการอนุรักษ์ดินให้มาก
                        2.4.3  ดินในบริเวณภูเขาและทิวเขาที่มีระดับแตกต่างกันมาก  ส่วนใหญ่เป็นภูเขาที่มีความลาดชันสูง

               เฉลี่ยความสูงจากระดับน้ าทะเลเกิน 500  เมตรขึ้นไปจนถึงยอดสูงสุดคือ ดอยอินทนนท์ ซึ่งสูงเกิน 2,500  เมตร
               ดินในบริเวณนี้เป็นดินภูเขาที่เกิดจากการสึกกร่อนผุพังเหลือเป็น  ดินบางๆ ตกค้างอยู่ บางแห่งก็มีสภาพเหมาะสม
               พอที่จะมีพืชพรรณขึ้น  โดยรากพืชสามารถชอนลึกลงไปข้างล่างได้ช่วยท าให้เกิดดินมากยิ่งขึ้น  เพราะมีช่องว่าง
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21