Page 20 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 20
11
2.6.4 ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
หรือเรียกว่า " ป่าผสมผลัดใบ" หรือ "ป่าโปร่งผสม" มีถึงร้อยละ 46 ของพื้นที่ป่าไม้ทั้งหมด
ของภาคเหนือ ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่ปะปนทั่วไป เรียกว่า "ป่าสัก" ซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัดของภาคเหนือ
ถ้าเป็นที่ราบหรือบริเวณเชิงเขาที่มีดินค่อนข้างแห้งหรือเป็นดินกรวดลูกรัง จะมีป่าแดงหรือป่าแพะ เป็นป่าโปร่ง
ประกอบด้วยต้นไม้ขนาดกลางเป็นจ านวนมาก พื้นป่าไม่รกทึบแต่บางแห่งก็มีไม้ไผ่ขึ้นอยู่บ้าง ในฤดูแล้งต้นไม้
เกือบทั้งหมดจะผลัดใบและมีไฟป่าลุกลามป่าชนิดนี้ทุกปี
จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดของภาคเหนือคือ จังหวัดเชียงใหม่ 14,060 ตารางกิโลเมตร
รองลงมาคือ จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8,763 ตารางกิโลเมตร จังหวัดที่มีป่าไม้หนาแน่นที่สุดคือ จังหวัดเชียงใหม่
ร้อยละ 70.0 ของพื้นที่จังหวัด) จังหวัดที่มีป่าไม้เบาบางที่สุดคือ จ.เชียงราย (ร้อยละ 32.7 ของพื้นที่จังหวัด)
2.7 การใช้ประโยชน์ที่ดิน
การใช้ประโยชน์ที่ดินภาคเหนือพื้นที่ส่วนใหญ่ของภาคเหนือประมาณร้อยละ 57.25 ของพื้นที่ทั้งภาค
ยังคงปกคลุมไปด้วยพื้นที่ป่าไม้ โดยเฉพาะบริเวณทางตอนบนของภาคและบางส่วนของภาคเหนือตอนล่าง
จังหวัดที่มีสัดส่วนพื้นที่ป่าไม้มากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่จังหวัด ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พะเยา ล าปาง ล าพูน
เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ตาก แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี รองลงมาได้แก่ การใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อการเกษตรมีพื้นที่รวมทั้งสิ้นประมาณร้อยละ 37.92 ของพื้นที่ทั้งภาค โดยมีพื้นที่ปลูกข้าวมากที่สุดคิดเป็น
ร้อยละ 49.18 ของพื้นที่เกษตรภายในภาค รองลงมาได้แก่ พืชไร่ และไม้ผล คิดเป็นร้อยละ 31.34 และ 6.35
ของพื้นที่เกษตร ตามล าดับโดยพื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ครอบคลุมพื้นที่บริเวณทางตอนล่างของภาค
ภูมิประเทศซึ่งมีลักษณะเป็น ที่ราบลุ่มแม่น้ าเหมาะแก่การเกษตร ครอบคลุมพื้นที่จังหวัด ก าแพงเพชร สุโขทัย
พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ และจังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดิน
เพื่อการเกษตรมากกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่จังหวัด ส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่
ชุมชน พื้นที่อุตสาหกรรม พื้นที่แหล่งน้ า และพื้นที่อื่นๆ มีสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินรวมกันแล้วไม่ถึง
1 ใน10 ของพื้นที่ทั้งภาคซึ่งเป็นสัดส่วนที่น้อยมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่การเกษตร
ในพื้นที่ลุ่มใช้ท านา ส่วนใหญ่ปลูกข้าวโดยอาศัยน้ าฝนเกือบทั้งหมด มีเพียงส่วนน้อยที่อยู่ในพื้นที่
เขตชลประทาน ในช่วงฤดูแล้งซึ่งมีน้ าน้อย บางพื้นที่สามารถปลูกพืชอายุสั้นหรือพืชผักต่างๆได้ สภาพพื้นที่
เป็นภูเขา หรือเป็นที่ลาดชันเชิงซ้อนจะเป็นป่าธรรมชาติเป็นแหล่งต้นน้ าล าธาร ต่ าลงไปซึ่งความลาดชันสูง
ซึ่งเป็นพื้นที่เนินเขาและเป็นสภาพพื้นที่ลูกคลื่นลอนชัน ลูกคลื่นลอนลาดจนถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อย
ส่วนใหญ่ก็ยังเป็นป่าธรรมชาติมีบางแห่งปลูกไม้ผลไม้ยืนต้นต่างๆ ถัดลงไปสภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นลอนลาด
ถึงลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยใช้ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น พืชไร่ พืชผัก และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ สภาพการใช้ประโยชน์
ที่ดินในพื้นที่ภาคเหนือพอสรุปได้ดังนี้
2.7.1 ภาคเหนือตอนบน (ครอบคลุมจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ แม่ฮ่องสอน ล าปาง
และล าพูน) เนื่องจากบริเวณพื้นที่ภาคเหนือตอนบนเป็นจุดก าเนิดแม่น้ าหลายสาย เช่น แม่น้ าปิง แม่น้ าวัง
แม่น้ ายม และแม่น้ าน่าน ที่ต่างก็เป็นแม่น้ าสายหลักที่ไหลมาบรรจบลงเป็นแม่น้ าเจ้าพระยานับว่าเป็นบริเวณที่มี
ศักยภาพทางการเกษตรสูง โดยบริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ าทั้ง 4 นั้น เป็นดินตะกอนน้ าพาจึงเหมาะที่จะท านา ท าไร่
ท าสวน ส่วนบริเวณที่อยู่บนเขาก็จะสามารถปลูกพืชเมืองหนาว เช่น ล าไย ลิ้นจี่ สตรอเบอร์รี่ ได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังสามารถท าฟาร์มเลี้ยงสัตว์ในเขตที่ราบระหว่าภูเขาได้อีกด้วย พื้นที่บริเวณภาคเหนือตอนบนยังมี
แร่ธาตุอุดมสมบูรณ์ ทั้งแร่ดีบุก แร่พลวง แร่ทังสะเตน แร่แบไรต์ และถ่านหินลิกไนต์ จึงท าให้ภาคเหนือ
ตอนบนมีการท าเหมืองแร่เป็นจ านวนมาก พื้นที่บริเวณนี้บางส่วนที่ติดกับชายแดนพม่าและลาว ท าให้มีการ