Page 24 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 24

14


                                     3.3.1.1.2 พายุหมุนเขตร้อนต่าง ๆ เช่น เฮอร์ริเคน ไต้ฝุ่น และไซโคลน ซึ่งล้วนเป็น

               พายุหมุนขนาดใหญ่เช่นเดียวกัน และจะเกิดขึ้นหรือเริ่มต้นก่อตัวในทะเล หากเกิดเหนือเส้นศูนย์สูตรจะมี
               ทิศทางการหมุนทวนเข็มนาฬิกา และหากเกิดใต้เส้นศูนย์สูตรจะหมุนตามเข็มนาฬิกาโดยมีชื่อต่างกันตาม

               สถานที่เกิดดังนี้

                                            -    พายุเฮอร์ริเคน (Hurricane) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดบริเวณ
               ทิศตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก เช่น บริเวณฟลอริดา สหรัฐอเมริกา อ่าวเม็กซิโก ทะเลแคริบเบียน

               เป็นต้น รวมทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณชายฝั่งประเทศเม็กซิโก
                                            -     พายุไต้ฝุ่น (Typhoon) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดทางทิศตะวันตก

               ของมหาสมุทรแปซิฟิกเหนือ เช่น บริเวณทะเลจีนใต้ อ่าวไทย อ่าวตังเกี๋ย ประเทศญี่ปุ่น
                                            -  พายุไซโคลน (Cyclone) เป็นชื่อพายุหมุนที่เกิดในมหาสมุทรอินเดียเหนือ

               เช่น บริเวณอ่าวเบงกอล ทะเลอาหรับ เป็นต้น แต่ถ้าพายุนี้เกิดบริเวณทะเลติมอร์และทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

               ของประเทศออสเตรเลียจะเรียกว่า พายุวิลลี-วิลลี (willy-willy)
                                            -  พายุโซนร้อน (Tropical  storm) เกิดขึ้นเมื่อพายุเขตร้อนขนาดใหญ่

               อ่อนกําลังลงขณะเคลื่อนตัวในทะเล และความเร็วที่จุดศูนย์กลางลดลงเมื่อเคลื่อนเข้าหาฝั่ง

                                            - พายุดีเปรสชัน (Depression) เกิดขึ้นเมื่อความเร็วลดลงจากพายุโซนร้อน
               ซึ่งก่อให้เกิดพายุฝนฟ้าคะนองธรรมดาหรือฝนตกหนัก

                                     3.3.1.1.3 พายุทอร์นาโด (Tornado) เป็นชื่อเรียกพายุหมุนที่เกิดในทวีปอเมริกา
               มีขนาดเนื้อที่เล็กหรือเส้นผ่าศูนย์กลางน้อย แต่หมุนด้วยความเร็วสูง หรือความเร็วที่จุดศูนย์กลางสูงมากกว่า

               พายุหมุนอื่น ๆ ก่อให้เกิดความเสียหายได้รุนแรงในบริเวณที่พัดผ่านเกิดได้ทั้งบนบกและในทะเล หากเกิด
               ในทะเลจะเรียกว่า นาคเล่นน้ํา (water  spout) บางครั้งอาจเกิดจากกลุ่มเมฆบนท้องฟ้าแต่หมุนตัวยื่นลงมา

               จากท้องฟ้าไม่ถึงพื้นดินมีรูปร่างเหมือนงวงช้างจึงเรียกกันว่า ลมงวง

                                     3.3.1.1.4  ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ํา  (Intertropical  convergence
               zone) ใช้ตัวย่อ ICZ หรือ ITCZ , equaltorial trough หรือ monsoon trough) มีลักษณะเป็นแนวพาดขวาง

               ทิศตะวันตก-ตะวันออกในเขตร้อนใกล้ๆ  อิเควเตอร์  ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นลงและพาดผ่านประเทศไทยช้ากว่า
               แนวโคจรของดวงอาทิตย์ประมาณ 1 เดือน ความกว้างของร่องมรสุมประมาณ 6-8 องศาละติจูด

                                   3.3.1.1.5 ลมมรสุมมีกําลังแรง (Stong monsoon) มรสุม คือ ลมประจําฤดู ลมมรสุม

               เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน  และพื้นน้ําในฤดูหนาวและฤดูร้อน  ในฤดูหนาว
               อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นทวีปเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นที่มหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ําจึงมี

               อุณหภูมิสูงกว่าและลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าจึงไหลไปแทนที่ ทําให้เกิดลมพัดออกจาก
               ทวีปพอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปสูงกว่าน้ําในมหาสมุทรเป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกัน

               ข้ามประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม  ประเทศไทยจึงอยู่ในอิทธิพลของมรสุม 2  ฤดู คือ มรสุม

               ตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดประมาณฤดูกาลละ 6 เดือน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29