Page 29 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 29

19


               ที่มีอิทธิพลทําให้ฝนตกต่อเนื่องหลายวันตั้งแต่วันที่ 10  พฤศจิกายน ทําให้น้ําท่วมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
               นครศรีธรรมราช พัทลุง ปัตตานี สงขลา ตรัง และนราธิวาส

                       -  ปี 2552 ประเทศไทยมีฝนชุกในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม ส่วนเดือนอื่นๆ เกือบทุกภาคมีฝนน้อย
               ปริมาณฝนรวมทั่วประเทศตลอดปีสูงกว่าค่าปกติประมาณ 2 % แต่ต่ํากว่าปีที่ผ่านมา (ปี 2551 มีปริมาณฝน
               1751.4  มิลลิเมตรสูงกว่าค่าปกติ 11%)  และในปีนี้มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนเข้าสู่ประเทศไทยเพียง 1  ลูก
               คือ พายุดีเปรสชันที่อ่อนกําลังลงจากไต้ฝุ่น“กิสนา” โดยเคลื่อนเข้าสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณอําเภอ

               โขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อวันที่ 30 กันยายน และอ่อนกําลังลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ํากําลังแรง
               ปกคลุมบริเวณจังหวัดอุบลราชธานี และศรีสะเกษในวันต่อมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีการกระจายของฝนเพิ่มขึ้นกับ
               มีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง และมีรายงานน้ําท่วม
               บางพื้นที่ในช่วงดังกล่าว ในช่วงกลางเดือนมิถุนายนและกลางเดือนกรกฎาคม ร่องความกดอากาศต่ําพาดผ่าน

               บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยรวมทั้งอิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรง
               พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย   ทําให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกค่อนข้างหนัก โดยเฉพาะ
               จังหวัดอุตรดิตถ์ แพร่ สุโขทัย  ทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก ในพื้นที่ดังกล่าวและในพื้นที่
               4 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดพังงา ระนอง สตูล และจังหวัดตรัง ส่วนในช่วงกรกรกฎาคมถึงกันยายน อิทธิพล

               ของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยประกอบกับร่องความ
               กดอากาศต่ําพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก
               ในพื้นที่จังหวัดภาคตะวันออก  ได้แก่ จังหวัดระยอง จันทบุรี ตราด เชียงราย  น่าน ลพบุรี และลําปาง และ

               ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกําลังแรงพัดปกคลุมภาคใต้และอ่าวไทย
               ในช่วงวันที่ 3-8 พฤศจิกายน ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักและเกิดน้ําท่วมในพื้นที่ภาคใต้พื้นที่ประสบภัย 10 จังหวัด
               ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง ชุมพร  สงขลา สตูล ตรัง นราธิวาส ยะลา และจังหวัด
               ปัตตานี
                       -   ปี 2553 เกิดเหตุการณ์น้ําท่วมในประเทศไทยหนักที่สุดในรอบหลายสิบปี เนื่องจากมีฝนตกหนัก

               ในหลายพื้นที่ ในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน ก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินในหลายพื้นที่
               ซึ่งอุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2553 จนกระทั่งสถานการณ์คลี่คลายทั้งหมดเมื่อวันที่
               14 ธันวาคม พ.ศ. 2553 ซึ่งมีสาเหตุการเกิดมาจากอิทธิพลของร่องความกดอากาศต่ําพาดผ่านภาคใต้ตอนบน

               ภาคกลางและภาคตะวันออก และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทําให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตก
               หนักถึงหนักมาก หลายพื้นที่เกิดน้ําท่วมเฉียบพลัน น้ําป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร์และพื้นที่
               การเกษตร  โดยร่องมรสุมกําลังแรงดังกล่าวมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ลานิญา ที่มาเร็วกว่าปกติ  โดยฝนได้ตก
               ลงมาในพื้นที่หลังเขาเป็นเวลาหลายวันเฉลี่ยมากกว่า 100 มิลลิเมตรต่อวัน ประกอบกับความแปรปรวน

               ของร่องฝน ซึ่งปกติจะต้องเคลื่อนลงไปแถวภาคใต้แล้ว ทําให้ปริมาณน้ําในอ่างเก็บน้ําหลายแห่งมีปริมาณน้ํา
               เกินกว่าระดับกักเก็บ โดยเฉพาะเขื่อนลําพระเพลิง เขื่อนลําตะคอง เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จนต้องเร่งระบายน้ํา
               ออกสู่พื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งทําให้หลายพื้นที่เกิดอุทกภัยอย่างหนักเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือนที่พื้นที่ได้รับผลกระทบ
               จากอุทกภัยและมีผู้เสียชีวิต  โดยอุทกภัยในจังหวัดนครราชสีมายังพบว่ามีสาเหตุมากจากการรุกล้ําลําน้ํา

               ลําตะคองและลําพระเพลิง ทําให้พื้นที่ไม่สามารถเก็บกักน้ําเอาไว้ได้  ส่วนอุทกภัยในภาคใต้ระบุว่าเกิดจาก
               อิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ ทําให้ภาคใต้มีฝนตกชกหนาแน่น และ
               มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทําให้เกิดน้ําท่วมเฉียบพลัน น้ําป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร์
               และพื้นที่การเกษตร วาตภัยและคลื่นมรสุมซัดฝั่ง  รวมทั้งพายุไซโคลน “จาล” ทําให้ผลกระทบจากอุทกภัย

               เพิ่มมากขึ้น
   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34