Page 27 - น้ำท่วมซ้ำซาก 7 จังหวัดภาคเหนือ ปรับปรุงปี2557
P. 27

17


                       -  ปี 2547  ในช่วงระหว่างวันที่  18-20  พฤษภาคม 2547  ปริมาณน้ําฝนหนักมากกว่าปกติ
               โดยเฉพาะวันที่ 20  พฤษภาคม 2547  มีปริมาณน้ําฝนมากถึง 160  มิลลิเมตร ทําให้ดินบนภูเขาสูงชัน

               ไม่สามารถอุ้มน้ําไว้ได้  เกิดดินถล่มลงมาอย่างรุนแรงในบริเวณป่าธรรมชาติและไร่ร้าง  โดยมีพื้นที่ประสบภัย
               3 อําเภอ 3 จังหวัด (อําเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อําเภอสบเมย จังหวัด
               แม่ฮ่องสอน) ราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือน สิ่งสาธารณะประโยชน์ ถนน ทํานบ เหมือง ฝาย และ
               พื้นที่เกษตร ได้รับความเสียหายจํานวนมาก จากนั้นช่วงกลางเดือนมิถุนายนได้เกิดพายุดีเปรสชั่น "จันทู" ที่พัด

               เคลื่อนตัวมาจากประเทศลาว  ทําให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักทั่วภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               ส่งผลให้พื้นที่ของจังหวัดน่าน  แพร่ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลกเกิดน้ําท่วมและได้รับความเสียหายอย่างหนัก
               ช่วงปลายเดือน กรกฎาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม มีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง ทําให้เกิดน้ําท่วมบริเวณภาคเหนือ
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย  โดยเฉพาะช่วงกลางเดือนสิงหาคม ฝนตกหนักมากจนทําให้เกิด

               น้ําท่วมและน้ําป่าไหลหลากในจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งบริเวณเขาใหญ่
               จากนั้นช่วงกลางเดือนกันยายน มีกลุ่มเมฆปกคลุม ในบริเวณประเทศไทยบริเวณภาคเหนือและ
               ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทําให้เกิดฝนตกหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณภาคเหนือมีฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง
               เกิดน้ําป่าไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่นาเสียหายจํานวนมาก

                       -  ปี 2548  ช่วงวันที่ 12 -13 สิงหาคม ได้เกิดพายุดีเปรสชั่นบริเวณภาคเหนือ ทําให้เกิดฝนตกหนัก
               ในหลายพื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และลําปาง  ซึ่งภายหลังจากฝนถล่มหนัก
               ในภาคเหนือตอนบนทําให้หลายจังหวัด ถูกน้ําป่าทะลักท่วม จมบาดาลโดยเฉพาะที่ อ.ปางมะผ้า อ.ปาย

               จ.แม่ฮ่องสอน และตามอําเภอรอบนอกในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ เชียงราย น่าน และลําปาง และในช่วงปลายเดือน
               กันยายนอิทธิพลของพายุไต้ฝุ่น “ดอมเรย”ส่งผลให้เกิดฝนตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  โดยเฉพาะบริเวณ
               จังหวัดนครพนม มุกดาหาร สกลนคร อุดรธานี และหนองคาย ซึ่งทําให้เกิดภาวะน้ําป่าไหลหลากและน้ําท่วม
               ฉับพลัน จากนั้นช่วง 21-27 ตุลาคม พายุฝนพัดกระหน่ําติดต่อกัน ทําให้น้ําป่าจากเทือกเขาตะนาวศรี ไหล่บ่า
               ท่วมพื้นที่หลายอําเภอของจังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี และกาญจนบุรี จากนั้นช่วงเดือน

               ธันวาคม มีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคใต้ของประเทศไทยตั้งแต่ช่วงต้นเดือนจนถึงปลายเดือนประกอบกับอิทธิพล
               ของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้    ทําให้เกิดฝนตกหนักติดต่อกัน จึงทําให้เกิด
               น้ําท่วมอย่างหนักบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ได้แก่ จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปัตตานี นราธิวาส พัทลุง ตรัง

               ยะลา และสตูล มีประชาชนได้รับความเดือดร้อน มีผู้เสียชีวิตโดยมีมูลค่าความเสียหายประมาณ 600 ล้านบาท
                       -  ปี 2549 ในช่วงเดือนพฤษภาคมมีกลุ่มเมฆปกคลุมภาคเหนือของประเทศไทย โดยเฉพาะในช่วง
               วันที่  21-23  พฤษภาคม  จะเห็นว่ามีกลุ่มเมฆหนาบริเวณภาคเหนือตอนล่าง บริเวณจังหวัดแพร่ อุตรดิตถ์
               สุโขทัย  ทําให้เกิดฝนตกหนักในบริเวณดังกล่าวประกอบกับร่องความกดอากาศต่ําหรือร่องฝนได้พาดผ่าน

               ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนทําให้บริเวณดังกล่าวมีฝนตกหนักเกิดขึ้นและเกิดน้ําท่วม
               ฉับพลันและร้ายแรงในรอบ 38  ปีที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินแก่ประชาชนในพื้นที่จังหวัด
               อุตรดิตถ์ สุโขทัย แพร่ ลําปาง และน่าน จากนั้นในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม มีอิทธิพลของพายุ "ช้างสาร"
               ได้เคลื่อนตัวเข้าสู่ประเทศไทยทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลาง จึงทําให้เกิด

               ฝนตกหนักอย่างต่อเนื่อง  เป็นผลทําให้เกิดน้ําท่วมอย่างหนักเป็นบริเวณกว้าง จากพื้นที่น้ําท่วมตั้งแต่เดือน
               พฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม จะเห็นได้ว่าในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม เกิดน้ําท่วมบริเวณภาคเหนือ
               ในพื้นที่จังหวัด น่าน  แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์  หลังจากนั้นน้ําเหนือได้ไหลเข้าสู่พื้นที่ภาคกลางทําให้
               เกิดน้ําท่วม  ตั้งแต่จังหวัดกําแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง สุพรรณบุรี อยุธยา  ปทุมธานี

               นนทบุรี รวมถึงกรุงเทพมหานครได้รับความเสียหาย
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32