Page 62 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 62

53



                     ปริมาณน้ำหลากจำนวนมากไหลผ่านที่ราบเข้ามาบรรจบกับลำน้ำพองบริเวณท้ายเมืองขอนแก่น
                     ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในเขตอำเภอเมืองขอนแก่น
                                                                                                        ็
                                              ็
                                3) จังหวัดร้อยเอด มีสภาพภูมิประเทศบริเวณจากริมลำน้ำชีจนเกือบถึงตัวเมืองร้อยเอด
                                                                 ็
                     มีสภาพเป็นที่ราบ โดยมีความลาดเทจากตัวเมืองร้อยเอดลงสู่ลำน้ำชีเช่นเดียวกัน ถ้าเกิดสภาวะฝนตกหนัก
                     บนพื้นที่ด้านในและน้ำในแม่น้ำชีมีระดับสูงจะไม่สามารถระบายน้ำลงสู่แม่น้ำชีได้ ทำให้เกิดน้ำท่วมพื้นที่
                                                                                                       ื้
                     ด้านในบริเวณโครงการชลประทาน ทุ่งแซงบาดาล จังหวัดร้อยเอ็ด นอกจากนั้นจังหวัดร้อยเอ็ดยังมีพนที่
                                                                                                        ็
                     คาบเกี่ยวกันระหว่างลุ่มน้ำชี และลุ่มน้ำมูล ลำน้ำสาขาหลักที่อยู่ใน ลุ่มน้ำชีที่ไหลผ่านจังหวัดร้อยเอด
                     ได้แก่ ลำน้ำชีสายหลัก ส่วนลำน้ำสาขาหลักในลุ่มน้ำมูล ได้แก่ ลำเสียวน้อย ลำเสียวใหญ่ ลำพลับพลา

                     และลำน้ำมูลสายหลัก โดยตัวเมืองร้อยเอ็ดตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำชีสายหลักบริเวณจุดบรรจบระหว่างลำน้ำปาว
                     (ท้ายเขื่อนลำปาว) และลำน้ำชีสายหลักซึ่งเป็นที่ราบลุ่ม และมีลำน้ำขนาดใหญ่ 2 สายมาบรรจบกัน
                     ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่ง และปัญหาน้ำท่วมขังในพนที่อำเภอที่อยู่ริมลำน้ำชี บริเวณอำเภอเสลภูมิ
                                                                   ื้
                     อำเภอโพนทอง และอำเภอพนมไพร เป็นต้น
                                4) จังหวัดกาฬสินธุ์ มีลำน้ำสาขาหลักที่สำคัญ ได้แก่ ลำพนชาด ลำปาว (ท้ายเขื่อนลำปาว)
                                                                               ั
                     และลำน้ำยังบริเวณต้นน้ำลำน้ำชีสายหลัก โดยตัวเมืองกาฬสินธุ์ตั้งอยู่ริมลำน้ำปาวซึ่งรับน้ำจาก
                     ท้ายเขื่อนลำปาวเป็นส่วนใหญ่ ถึงแม้เขื่อนลำปาว จะสามารถเก็บกักปริมาณน้ำหลากส่วนใหญ่ไว้ได้

                     แต่เนื่องจากน้ำท่าที่ไหลเข้าเขื่อนมีปริมาณมากกว่าความจุเก็บกักของเขื่อน (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
                     และการเกษตร (องค์การมหาชน), 2561) ดังนั้นในปีที่มีน้ำมาก จึงต้องระบายน้ำ ส่วนเกินลงมาด้านท้ายน้ำ
                     ส่งผลให้เกิดอทกภัยในเขตอำเภอเมืองกาฬสินธุ์ ในลักษณะน้ำไหลล้นตลิ่งเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งเมื่อน้ำ
                                ุ
                     ไหลผ่านอำเภอเมืองกาฬสินธุ์แล้วจะไหลลงไปบรรจบกับแม่น้ำชีสายหลัก (ซึ่งรับน้ำต่อจากจังหวัด

                                                                       ื้
                     มหาสารคาม) ในเขตอำเภอกมลาไสย ทำให้เกิดน้ำท่วมพนที่ด้านใน ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำท่วมใน
                     ลักษณะน้ำท่วมขังในเขตอำเภอกมลาไสยเป็นบริเวณกว้าง
                                5) จังหวัดยโสธร มีลำน้ำที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำชีสายหลัก และลำน้ำยัง ในส่วนของลำน้ำยัง
                                                                                                        ็
                     ซึ่งไหลลงสู่ลำน้ำชี ลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ลุ่มมีทุ่งน้ำท่วมกว้าง บริเวณรอยต่อระหว่างจังหวัดร้อยเอด
                     และจังหวัดยโสธร มีการก่อสร้างคันดินริมแม่น้ำสูง และมีทุ่งน้ำท่วมบางแห่ง ซึ่งอยู่ด้านในคันกั้นน้ำ
                     นอกจากนั้น เกษตรกรทำการปรับปรุงเป็นพื้นที่เพาะปลูก โดยเพาะปลูกหลังน้ำลดจนถึงฤดูแล้ง ซึ่งหาก
                     มีฝนตกหนักด้านในจะไม่สามารถระบายน้ำออกได้ เนื่องจากน้ำในลำน้ำชีจะมีระดับสูงด้วยเช่นกัน

                                                                                                ุ
                                6) จังหวัดอุบลราชธานี มีลำน้ำชีสายหลักไหลผ่าน และบรรจบกับลำน้ำมูลที่จังหวัดอบลราชธานี
                                                        ื้
                     ก่อนจะไหลลงสู่ลำน้ำโขง ปัญหาน้ำท่วมในพนที่เกิดจากปริมาณน้ำจากลำน้ำสาขาของลำน้ำชี และลำน้ำมูล
                                                                                      ื้
                     ไหลมารวมกัน ทำให้ระดับน้ำในลำน้ำหลักทั้ง 2 สายค่อนข้างสูง และเออเข้าพนที่ราบลุ่ม ประกอบกับ
                                                                                ่
                     ปริมาณน้ำในลำน้ำโขงมีระดับสูงจึงไม่สามารถระบายออกได้ (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ
                     และการเกษตร (องค์การมหาชน), 2555)
   57   58   59   60   61   62   63   64   65   66   67