Page 57 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 57

48



                     3.6  พื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซาก

                           จากการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำแผนที่การใช้ประโยชน์ที่ดินระดับจังหวัด ปี พ.ศ. 2562
                     ซ้อนทับกับแผนที่น้ำท่วมซ้ำซากของภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ พบว่า
                        ื้
                     มีพนที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบและความเสียหายจากปัญหาน้ำท่วมซ้ำซากจำนวน 4,195,656 ไร่
                                              ื้
                     หรือคิดเป็นร้อยละ 3.98 ของพนที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยพนที่การเกษตรบริเวณที่เกิดน้ำท่วมซ้ำซาก
                                                                         ื้
                                   ้
                                                   ื้
                     มีการเพาะปลูกขาวเป็นหลัก โดยมีพนที่เพาะปลูกข้าวที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมซ้ำซาก
                     3,188,489 ไร่ รองลงมาได้แก่ พื้นที่ปลูกไม้ยืนต้น 117,153 ไร่ และพืชไร่ 109,712 ไร่
                           โดยจังหวัดที่มีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายและผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา

                                                                                                ื้
                                                                                           ็
                        ื้
                     มีพนที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจำนวน 647,637 ไร่ รองลงมาได้แก่ จังหวัดร้อยเอด มีพนที่ที่คาดว่า
                                                                          ื้
                     จะได้รับผลกระทบจำนวน 500,808 ไร่ และจังหวัดศรีสะเกษ มีพนที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจำนวน
                     374,369 ไร่ ตามลำดับ ทั้งนี้การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก เป็นการนำฐานข้อมูล ปัจจัยต่าง ๆ
                     ที่มีอยู่มาใช้วิเคราะห์หาความสัมพนธ์ร่วมกัน ซึ่งอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ ซึ่งการคลาดเคลื่อนอาจเกิดจาก
                                                ั
                                                             ื้
                     การแปรปรวนของสภาพอากาศในแต่ละปี สภาพพนที่ที่เปลี่ยนไป ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องมีการสุ่มสำรวจ
                     ภาคสนาม เพอตรวจสอบและปรับแก้ไขข้อมูลอกครั้งหนึ่ง เพอความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งจากการสำรวจ
                                ื่
                                                            ี
                                                                       ื่
                      ื้
                                                                     ื
                     พนที่เกษตรที่เสี่ยงภัยน้ำท่วมซ้ำซากในภาคสนาม พบว่า พ้นที่ส่วนใหญ่ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหา
                     น้ำท่วมซ้ำซากเป็นพนที่เพาะปลูกข้าว และพนที่ปลูกไม้ผล ไม้ยืนต้น โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกข้าว
                                      ื้
                                                          ื้
                                                          ั
                                                                                              ั
                                            ั
                     ขาวดอกมะลิ 105 และข้าวพนธุ์ กข6 ซึ่งเป็นพนธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง ซึ่งเป็นพนธุ์ข้าวเหนียว
                     ที่ได้รับการปรับปรุงพนธุ์ข้าวเจ้าพนธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเกษตรกรในพนที่จะเริ่มเพาะปลูกข้าวในช่วง
                                                                                 ื้
                                                 ั
                                       ั
                                                                   ื้
                     เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน ส่วนช่วงที่มีน้ำท่วมขังในพนที่การเกษตรจะประมาณช่วงเดือนสิงหาคมถึง
                     ตุลาคมของทุกปี โดยท่วมขังบริเวณที่เป็นพนที่ลุ่ม โดยมีช่วงระยะเวลาของการท่วมขังประมาณ 10 - 30 วัน
                                                       ื้
                     ที่ระดับความลึก 30 - 50 เซนติเมตร ซึ่งสร้างความเสียหายให้กับพนที่การเกษตร โดยพชไร่ที่ได้รับ
                                                                              ื้
                                                                                                ื
                     ผลกระทบ ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ออยโรงงาน และมันสำปะหลัง   ส่วนไม้ยืนต้นที่ได้รับผลกระทบ
                                                     ้
                                                                                                 ่
                     ได้แก่ ยางพารา ยูคาลิปตัส และปาล์มน้ำมัน เป็นส่วนใหญ่ และไม้ผลที่ได้รับผลกระทบ ได้แก ไม้ผลผสม
                     มะม่วง และมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งสาเหตุของการท่วมซึ่งเกิดจากปริมาณฝนที่ตกหนักมาก และต่อเนื่องเป็น
                                                                                      ่
                     ระยะเวลานาน ทำให้เกิดน้ำท่วมแบบฉับพลัน และปริมาณน้ำมากจนเออล้นตลิ่งแมน้ำ ซึ่งทำให้สภาพน้ำท่า
                                                                            ่
                                                           ื
                     เกินความจุของลำน้ำ น้ำจึงไหลบ่าเข้าท่วมพ้นที่การเกษตร ทำให้พืชเศรษฐกิจได้รับความเสียหาย
                     (ตารางที่ 3.3 และภาพที่ 3.24)
   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62