Page 15 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 15
6
ในทุกภาค โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกน้อยกว่าปกติค่อนข้างมากบริเวณจังหวัดสกลนคร และ
จังหวัดนครพนม
2.2.3 ปริมาณฝนรายปี – รายภาค เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 40 ปี
พบว่า ปี พ.ศ. 2565 ประเทศไทยมีฝนตกมากกว่าปกติทุกภาค และเมื่อเปรียบเทียบปริมาณฝนรายปี
ย้อนหลังของแต่ละภาคในรอบ 40 ปี (พ.ศ. 2526 - 2565) พบว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีฝนตก 1,766
มิลลิเมตร มากกว่าปกติถึงร้อยละ 27 ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับข้อมูลย้อนหลังในรอบ 40 ปี และเพิ่มขึ้น
จากปี พ.ศ. 2564 ค่อนข้างมาก
ภาพที่ 2.2 ปริมาณฝนรายปี รายภาค เปรียบเทียบข้อมูลสถิติฝนรายปีย้อนหลังในรอบ 40 ปี
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
(ที่มา: สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, 2565)
2.3 ลักษณะภูมิประเทศ
ประกอบด้วยเทือกเขาที่สำคัญ ได้แก่ เทือกเขาเพชรบูรณ์ เทือกเขาดงพญาเย็น เทือกเขาสันกำแพง
เทือกเขาพนมดงรัก และเทือกเขาภูพาน แม่น้ำที่สำคัญ ได้แก่ แม่น้ำชี ยาวประมาณ 765 กิโลเมตร
และแม่น้ำมูล ยาวประมาณ 750 กิโลเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะแยกตัวออกจาก
ภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะการยกตัวของแผ่นดินสองด้าน คือ ด้านตะวันตกและด้านใต้
ี
ทำให้ภูมิประเทศตะแคงลาดเอยงไปทางตะวันออก การยกตัวของแผ่นดินด้านตะวันตก ทำให้เกิดขอบสูงชัน
ตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ ต่อไปยังแนวเทือกเขาดงพญาเย็น โดยที่ด้านขอบชันหันไปทางตะวันตก
ต่อบริเวณที่ราบภาคกลาง ภูมิประเทศทางด้านใต้ตามแนวเทือกเขาสันกำแพง และเทือกเขาดงรัก
แผ่นดินยกตัวสูงขึ้นเช่นเดียวกับทางด้านตะวันตกโดยที่หันด้านขอบชันไปทางราชอาณาจักรกัมพชา
ู
ี
่
คล้ายกับพื้นที่ตะแคงหรือเอยงไปทางเหนือ บริเวณทางตอนกลางของภาค มีลักษณะเป็นแองคล้ายกระทะ