Page 20 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 20

11




                     มีระดับประมาณ +300 ถึง +1,350 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำมูล
                     และลำน้ำสาขาต่าง ๆ จากนั้นพนที่ค่อยๆ ลาดต่ำลงมาทางทิศเหนือสู่แม่น้ำมูล ที่ระดับประมาณ +100 ถึง +150
                                             ื้
                     จากระดับน้ำทะเลปานกลาง. สำหรับสภาพภูมิประเทศทางด้านทิศเหนือของลุ่มน้ำ เป็นเนินเขาระดับ

                                                                                        ื้
                     ไม่สูงมากนักประมาณ +150 ถึง +250 จากระดับน้ำทะเลปานกลาง จากนั้นพนที่ค่อยลาดต่ำลงมา
                     ทางทิศใต้สู่แม่น้ำมูลเช่นกัน ส่วนทางตอนล่างของลุ่มน้ำสภาพภูมิประเทศส่วนใหญ่ยังคงเป็น ที่ราบสูง
                     และมีทิวเขาพนมดงรักเป็นแนวยาวทางตอนใต้ พนที่จะค่อยๆ ลาดลงไปทางด้านตะวันออกในเขต
                                                                ื้
                                                                                      ุ
                     จังหวัดศรีสะเกษ สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสลับเนินเขา ส่วนในเขตจังหวัดอบลราชธานี ยโสธร และ
                                                                                               ื้
                     อำนาจเจริญส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มสลับลูกคลื่นลอนลาดถึงลูกคลื่นลอนชัน ความสูงของพนที่โดยเฉลี่ย
                     200 เมตรเทียบกับระดับน้ำทะเลปานกลาง ลุ่มน้ำมูล แบ่งตามสภาพภูมิประเทศออกเป็น 2 ส่วน คือ
                     ลุ่มน้ำมูลตอนบน และลุ่มน้ำมูลตอนล่าง มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ แม่น้ำมูล เป็นแม่น้ำสายหลัก นอกจากนี้
                                                        ื้
                                         ี
                     ยังมีลำน้ำสาขาต่าง ๆ อกหลายสาย โดยพนที่ลุ่มน้ำครอบคลุมพนที่ในจังหวัดขอนแก่น จังหวัดชัยภูมิ
                                                                           ื้
                     จังหวัดนครนายก จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดบุรีรัมย์ จังหวัดมหาสารคาม จังหวัดมุกดาหาร จังหวัดยโสธร
                     จังหวัดร้อยเอด จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์ จังหวัดอำนาจเจริญ และจังหวัดอบลราชธานี
                                                                                               ุ
                                 ็
                     (สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร, 2561)
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25