Page 25 - พื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
P. 25

บทที่ 3

                                                      ผลการดำเนินการ



                     3.1  ความหมายของอุทกภัย

                           อทกภัย/น้ำท่วม คือ ภัยและอนตรายที่เกิดจากสภาวะน้ำท่วมพนดินสูงกว่าระดับปกติหรือน้ำท่วมฉับพลัน
                                                 ั
                            ุ
                                                                         ื้
                     ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเกิดฝนตกหนักหรือฝนต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเนื่องมาจากหย่อมความกดอากาศต่ำ
                     พายุหมุนเขตร้อน ได้แก่ พายุดีเปรสชั่น พายุโซนร้อน พายุใต้ฝุ่น ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำ
                     ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ จนทำให้มีปริมาณน้ำส่วนเกินมาเติม
                     ปริมาณน้ำผิวดินที่มีอยู่ตามสภาพปกติ จนเกินขีดความสามารถการระบายน้ำของแม่น้ำ ลำคลอง และ
                     ยังมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์โดยการปิดกั้นการไหลของน้ำตามธรรมชาติ จนเป็นอนตรายต่อชีวิต
                                                                                              ั
                     และทรัพย์สินของประชาชน


                     3.2  ประเภทและลักษณะของอุทกภัย


                           ลักษณะของอทกภัยมีความรุนแรง และรูปแบบต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ
                                       ุ
                     และสิ่งแวดล้อมของแต่ละพื้นที่โดยมีลักษณะดังนี้

                          3.2.1  น้ำป่าไหลหลาก หรือน้ำท่วมฉับพลัน (Flash flood) เป็นภาวะน้ำท่วมที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน
                                                       ื้
                     ในพนที่ เนื่องจากฝนตกหนักในบริเวณพนที่ซึ่งมีความชันมาก มักจะเกิดขึ้นในที่ราบต่ำหรือที่ราบลุ่ม
                        ื้
                                                                                         ื้
                                                                                                 ื้
                     บริเวณใกล้ภูเขาต้นน้ำ ที่ราบระหว่างหุบเขา เช่น บริเวณต้นน้ำซึ่งมีความลาดชันของพนที่มาก พนที่ป่าที่ถูก
                     ทำลายไปทำให้การกักเก็บน้ำหรือการต้านน้ำลดน้อยลง มักเกิดขึ้นหลังจากฝนตกหนักเหนือภูเขาต่อเนื่อง
                     เป็นเวลานาน ทำให้จำนวนน้ำสะสมมีปริมาณมากจนพนดินและต้นไม้ดูดซับไม่ไหวน้ำจึงไหลบ่าลงสู่
                                                                    ื้
                                                                    ั
                     ที่ราบต่ำด้านล่างอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้บ้านเรือนพงเสียหายและอาจทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
                                                                                ุ
                          3.2.2  น้ำท่วม หรือน้ำท่วมขัง (Inundation) เป็นลักษณะของอทกภัยที่เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำ
                     สะสมจำนวนมากที่ไหลบ่าในแนวระนาบจากทสูงไปยังที่ต่ำเข้าท่วมอาคารบ้านเรือน พชสวนไร่นาได้รับ
                                                           ี่
                                                                                            ื
                     ความเสียหายหรือเป็นสภาพน้ำท่วมขังในเขตเมืองใหญ่ที่เกิดจากฝนตกหนักต่อเนื่องเป็นเวลานาน
                     มีสาเหตุมาจากระบบการระบายน้ำไม่ดีพอ มีสิ่งกอสร้างกดขวางทางระบายน้ำ หรือเกิดน้ำทะเลหนุนสูง
                                                                    ี
                                                             ่
                     กรณีพื้นที่อยู่ใกล้ชายฝั่งทะเล
                          3.2.3  น้ำล้นตลิ่ง (Over bank flow) เกิดขึ้นจากปริมาณน้ำจำนวนมากที่เกิดจากฝนหนักต่อเนื่อง
                                                                                                        ึ้
                     ที่ไหลลงสู่ลำน้ำ หรือแม่น้ำมีปริมาณมากจนระบายลงสู่ลุ่มน้ำด้านล่างหรือออกสู่ปากน้ำไม่ทัน มักเกิดขน
                     บริเวณที่ราบลุ่มริมแม่น้ำ ทำให้เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพนที่สวน นาข้าวและบ้านเรือนตามสองฝั่งน้ำ
                                                                       ื้
                     จนได้รับความเสียหาย ถนนหรือสะพานอาจชำรุด ทางคมนาคมถูกตัดขาดได้ (กรมอุตุนิยมวิทยา, 2565)
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30