Page 26 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 26
18
ภาคใต้ ตั้งแต่ใต้สงขลาลงไปได้มากเช่นเดียวกัน คือ ทําให้เกิดคลื่นใหญ่มาก และระดับน้ําสูงจากปกติมากจน
อาจจะเกิดเป็นน้ําท่วมได้
3.3.1.2 น้้าจากแหล่งเก็บกักน้้าหรือระบบควบคุม (Control System) เช่น เขื่อน อ่าง
เก็บน้ํา ประตูระบายน้ํา ฝายทดน้ํา ฯลฯ โดยสาเหตุใหญ่ ๆ ที่ทําให้น้ําท่วมคือ (1) การระบายน้ําส่วนเกินใน
ปริมาณมากทิ้งออกไปเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยต่อแหล่งเก็บกักน้ําดังกล่าว กรณีนี้จะทําให้เกิดน้ําท่วม
พื้นที่ลุ่มสองฝั่งลําน้ําด้านท้ายน้ําในลักษณะค่อย ๆ ท่วม และ (2) น้ําท่วมอันเกิดจากการวิบัติของระบบควบคุม
ดังกล่าว เช่น เขื่อนพัง อ่างเก็บน้ําแตก ประตูระบายน้ําไม่อาจทําหน้าที่ได้ กรณีนี้จะก่อให้เกิดน้ําหลากมีความ
รุนแรงมากกว่าน้ําป่าและความเสียหายที่เกิดขึ้นก็มากกว่าเช่นกัน
3.3.1.3 น้ําท่วมจากน้ําทะเลหนุน เกิดในพื้นที่อยู่ติดทะเล ลักษณะการท่วมเกิดจาก
ระดับน้ําทะเลยกตัวสูงในช่วงน้ําขึ้นแล้วท่วมพื้นที่โดยตรงกับน้ําทะเลไหลย้อนเข้าสู่ลําน้ํา เพิ่มระดับน้ําในลําน้ํา
ที่ระบายน้ําจากลุ่มน้ําตอนบนขึ้นไปสูงขึ้นจนเอ่อออกท่วมพื้นที่สองฝั่ง และเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ําของ
พื้นที่ลุ่มน้ําตอนบนดังกล่าวซึ่งหากเกิดน้ําท่วมในพื้นที่ดังกล่าวอยู่แล้วน้ําก็จะยิ่งท่วมนานยิ่งขึ้น
3.4 อันตรายและความเสียหายที่เกิดจากอุทกภัย
- น้ําท่วมอาคารบ้านเรือน สิ่งก่อสร้างและสาธารณสถาน ซึ่งจะทําให้เกิดความ
เสียหาย ทางเศรษฐกิจอย่างมาก บ้านเรือนหรืออาคารสิ่งก่อสร้างที่ไม่แข็งแรงจะถูกกระแสน้ําที่ไหลเชี่ยว
พัดพังทลายได้ คน สัตว์ พาหนะและสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายถึงชีวิตจากการจมน้ําตาย
- เส้นทางคมนาคมและการขนส่ง อาจจะถูกตัดขาดเป็นช่วง ๆ โดยความแรงของ
กระแสน้ํา ถนน และสะพานอาจจะถูกกระแสน้ําพัดให้พังทลายได้ ยานพาหนะวิ่งรับส่งสินค้าไม่ได้เกิดความ
เสียหายทางเศรษฐกิจ
- ระบบสาธารณูปโภคจะได้รับความเสียหาย เช่น โทรศัพท์ ไฟฟ้า และประปา และ
ระบบการระบายน้ํา เป็นต้น ท่าอากาศยาน สวนสาธารณะ โรงเรียน
- พื้นที่การเกษตรและการปศุสัตว์จะได้รับความเสียหาย เช่น พืชผล ไร่นา ที่กําลัง
ให้ผลผลิตอาจถูกน้ําท่วมตายได้ สัตว์พาหนะ วัว ควาย สัตว์เลี้ยงตลอดจนผลผลิตที่เก็บกักตุนหรือมีไว้เพื่อทําพันธุ์
จะได้รับความเสียหาย
- ความเสียหายทางเศรษฐกิจรายได้ของประเทศลดลง รัฐต้องมีรายจ่ายสูงขึ้นจาก
การซ่อมบูรณะซ่อมแซมและช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยและเกิดข้าวยากหมากแพงทั่วไป
- ความเสียหายทางด้านสุขภาพอนามัยของประชาชน ขณะเกิดอุทกภัยขาดน้ําดีในการ
อุปโภคบริโภค ขาดความสะดวกด้านห้องน้ํา ห้องส้วม ทําให้เกิดโรคระบาด เช่น โรคน้ํากัดเท้า โรคอหิวาตกโรค
รวมทั้งโรคเครียดมีความวิตกกังวลสูงและโรคประสาทตามมา