Page 27 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 27

19


                                  -     ความเสียหายที่มีต่อทรัพยากรธรรมชาติ ฝนตกที่หนัก น้ําที่ท่วมขึ้นมาบนแผ่นดิน

               และกระแสน้ําที่ไหลเชี่ยวทําให้เกิดดินถล่มได้ นอกจากนั้นผิวหน้าดินที่อุดมสมบูรณ์จะถูกน้ําพัดพาลงสู่ที่ต่ํา ทํา
               ให้ดินขาดปุ๋ยธรรมชาติ และแหล่งน้ําเกิดการตื้นเขิน

               3.5 สถานการณ์การเกิดอุทกภัยที่ผ่านมา

                       ในระยะเวลาที่ผ่านมา พื้นที่หลายแห่งของประเทศประสบกับภาวะน้ําท่วม ซึ่งคาดว่าจะทวีความ
               รุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นมานานซ้ําซาก โดยการเกิดน้ําท่วมนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 จนถึง

               ปัจจุบันสามารถสรุปได้ดังนี้

                       -  ปี 2545 ในช่วงระหว่างปลายเดือนสิงหาคมถึงต้นเดือนกันยายน มีพายุฝนที่เกิดจากร่องความกด
               อากาศต่ําในพื้นที่ลุ่มน้ําชีและมูลอย่างต่อเนื่อง ก่อให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่เกิดปริมาณน้ําไหลหลาก  แต่

               เนื่องจากลุ่มน้ําไม่สามารถรองรับปริมาณน้ําและระบายได้ทันจึงไหลท่วมขังในพื้นที่ต่างๆ  และประกอบกับเป็นช่วงที่
               ระดับน้ําทะเลหนุนสูงขึ้น  ทําให้เกิดน้ําท่วมกระจายในพื้นที่ลุ่มน้ําทั้งสองเป็นบริเวณกว้าง ครอบคลุม 10  จังหวัด

               บริเวณที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ได้แก่ จังหวัดร้อยเอ็ด ศรีษะเกษ  และยโสธร ทําให้มีพื้นที่การเกษตร
               เสียหายประมาณ 3 ล้านไร่ จากนั้นช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคมได้เกิดน้ําท่วมเสียหายเป็นบริเวณกว้างในบริเวณ

               ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน รวม 58  จังหวัด ทําให้พื้นที่การเกษตรได้รับความ

               เสียหายประมาณ  9 ล้านไร่ มูลค่าความเสียหาย 6,200 ล้านบาท โดยเฉพาะจังหวัดลพบุรีเจอน้ําป่าทะลักจาก
               จังหวัดเพชรบูรณ์ ทําให้น้ําเข้าท่วมถึงเขตเทศบาลตําบลลํานารายณ์

                       -  ปี 2546  ในช่วงเดือนกลางเดือนตุลาคมถึงปลายเดือนอิทธิพลของพายุดีเปรสชั่นที่พาดผ่าน

               ประเทศไทยและขึ้นฝั่งที่ จ.เพชรบุรีในวันที่ 23 ตุลาคม 2546 ส่งผลให้จังหวัดเพชรบุรีและบริเวณภาคใต้
               ตอนบนมีฝนตกหนัก  เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลากได้ในพื้นที่ลุ่มและพื้นที่เสี่ยงภัย  โดยเฉพาะ

               บริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร และสุราษฎร์ธานี จากนั้นช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือน
               ธันวาคมหย่อมความกดอากาศต่ํากําลังแรงซึ่งมีกลุ่มฝนหนาแน่นปกคลุมบริเวณอ่าวไทยในทางด้าน

               ตะวันออกของจังหวัดนครศรีธรรมราชประกอบกับลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพัดผ่านอ่าวไทย  ทําให้

               ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยบริเวณจังหวัดชุมพร สุราษฏร์ธานี นครศรีธรรมราช  พัทลุง และสงขลา มีฝนตกชุก
               หนาแน่นกับมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่อย่างต่อเนื่อง  ซึ่งจะทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลันและน้ําป่าไหลหลาก

               เพิ่มมากขึ้น พื้นที่การเกษตรของประชาชน ได้รับความเสียหายอย่างหนัก
                       -  ปี 2547  ในช่วงระหว่างวันที่  18-20  พฤษภาคม 2547  ปริมาณน้ําฝนหนักมากกว่าปกติ

               โดยเฉพาะวันที่ 20  พฤษภาคม 2547  มีปริมาณน้ําฝนมากถึง 160  มิลลิเมตร ทําให้ดินบนภูเขาสูงชันไม่

               สามารถอุ้มน้ําไว้ได้  เกิดดินถล่มลงมาอย่างรุนแรงในบริเวณป่าธรรมชาติและไร่ร้าง  โดยมีพื้นที่ประสบภัย 3
               อําเภอ 3 จังหวัด (อําเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และ อําเภอสบเมย จังหวัด

               แม่ฮ่องสอน) ราษฎร์ได้รับความเดือดร้อน บ้านเรือน สิ่งสาธารณะประโยชน์ ถนน ทํานบ เหมือง ฝาย และ

               พื้นที่เกษตร ได้รับความเสียหายจํานวนมาก จากนั้นช่วงกลางเดือนมิถุนายนได้เกิดพายุดีเปรสชั่น "จันทู" ที่พัด
               เคลื่อนตัวมาจากประเทศลาว  ทําให้เกิดฝนตกลงมาอย่างหนักทั่วภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

               ส่งผลให้พื้นที่ของจังหวัดน่าน  แพร่ เพชรบูรณ์ และพิษณุโลกเกิดน้ําท่วมและได้รับความเสียหายอย่างหนัก
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32