Page 31 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 31
23
อุทกภัยและมีผู้เสียชีวิต โดยอุทกภัยในจังหวัดนครราชสีมายังพบว่ามีสาเหตุมากจากการรุกล้ําลําน้ําลําตะคอง
และลําพระเพลิง ทําให้พื้นที่ไม่สามารถเก็บกักน้ําเอาไว้ได้ ส่วนอุทกภัยในภาคใต้ระบุว่าเกิดจากอิทธิพลของ
พายุดีเปรสชั่นบริเวณอ่าวไทยตอนล่างเคลื่อนตัวผ่านภาคใต้ ทําให้ภาคใต้มีฝนตกชกหนาแน่น และมีฝนตก
หนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่ ทําให้เกิดน้ําท่วมเฉียบพลัน น้ําป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร์และพื้นที่
การเกษตร วาตภัยและคลื่นมรสุมซัดฝั่ง รวมทั้งพายุไซโคลน “จาล” ทําให้ผลกระทบจากอุทกภัยเพิ่มมากขึ้น
- ปี 2554 เกิดอุทกภัยรุนแรงที่เกิดขึ้นระหว่างฤดูมรสุมในประเทศไทย ซึ่งเกิดผลกระทบต่อบริเวณ
ลุ่มแม่น้ําเจ้าพระยาและลุ่มน้ําโขง เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกรกฎาคมและสิ้นสุดเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555
(แต่การฟื้นฟูยังมีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน) อุทกภัยครั้งนี้ถูกกล่าวว่าเป็น "อุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดทั้งในแง่ของ
ปริมาณน้ําและจํานวนผู้ได้รับผลกระทบ อุทกภัยครั้งนี้เริ่มขึ้นในระหว่างฤดูมรสุม เมื่อพายุหมุนนกเตนขึ้นฝั่ง
ทางตอนเหนือของเวียดนาม ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย
และทําให้เกิดอุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มตั้งแต่วันที่ 31 กรกฎาคม เกิดอุทกภัยใน 16 จังหวัด ขณะที่ฝนยังคง
ตกลงมาอย่างหนัก และภายในเวลาไม่นานก็เกิดอุทกภัยทางภาคใต้ เมื่อแม่น้ําเจ้าพระยาได้รับน้ําปริมาณ
มากจากแม่น้ําสาขา จึงส่งผลกระทบต่อหลายจังหวัดในภาคกลาง จนถึงวันที่ 4 ตุลาคม 2554 จังหวัดยังได้รับ
ผลกระทบ และเสี่ยงต่ออุทกภัยเพิ่มเติมเนื่องด้วยเขื่อนส่วนใหญ่มีระดับน้ําใกล้หรือเกินความจุทําให้ต้องเร่ง
ระบายน้ําออกจากเขื่อน โดยก่อนหน้านี้ได้เกิดอุทกภัยและดินถล่มทางภาคใต้ของประเทศไทย ซึ่งเริ่มตั้งแต่
วันที่ 23 มีนาคมแล้ว เหตุการณ์ดังกล่าวทําให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 53 คน และสร้างความเสียหายมากมาย
ประเทศไทยอยู่ในเขตร้อนหลายภาคส่วนของประเทศจึงมักเกิดน้ําท่วมฉับพลันตามฤดูกาล อุทกภัยมักเริ่มขึ้น
ในภาคเหนือแล้วค่อยขยายวงลงมาตามแม่น้ําเจ้าพระยาผ่านที่ราบภาคกลาง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตาม
แม่น้ําชีและมูลซึ่งไหลลงแม่น้ําโขง หรือในพื้นที่ลาดเขาชายฝั่งในภาคตะวันออกและภาคใต้ ส่วนที่เหลือของ
พายุหมุนเขตร้อนซึ่งพัดถล่มประเทศเวียดนามหรือคาบสมุทรทางใต้เพิ่มปริมาณน้ําฝนโดยทั่วไป ซึ่งส่งผลให้
เกิดความเสี่ยงต่ออุทกภัยมากขึ้นไปอีก ถึงแม้ว่าประเทศไทยจะมีระบบควบคุมการระบายน้ํา รวมถึงเขื่อน
หลายแห่ง คลองชลประทานและพื้นที่รับน้ํา(แก้มลิง) แต่ยังไม่เพียงพอต่อการป้องกันความเสียหายอันเกิดจาก
อุทกภัย
- ปี 2555 เริ่มเกิดอุทกภัยขึ้นในภาคเหนือและภาคใต้ซึ่งเริ่มมีความชัดเจนในช่วงปลายเดือน
พฤษภาคมเนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบ
กับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กําลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยซึ่งทําให้ทั่วทุกภาคของ
ประเทศมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2555 ได้เกิดพายุฝนฟ้า
คะนองพัดถล่มบ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหายทําให้ จ.สงขลา ได้ประกาศให้พื้นที่ 4 อําเภอของ จ.
สงขลา เป็นเขตภัยพิบัติฉุกเฉิน ประกอบด้วย อ.หาดใหญ่ นาหม่อม สะเดา และ อ.คลอง7หอยโข่ง และเมื่อ
วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2555 ได้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคใต้ คือ กระบี่ ภูเก็ต ระนอง ชุมพร และ
สุราษฎร์ธานี