Page 25 - น้ำท่วมซ้ำซาก 10 จังหวัดภาคเหนือ
P. 25

17


                                     3.3.1.1.4  ร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ํา  (Intertropical  convergence

               zone) ใช้ตัวย่อ ICZ หรือ ITCZ , equaltorial trough หรือ monsoon trough) มีลักษณะเป็นแนวพาดขวาง

               ทิศตะวันตก-ตะวันออกในเขตร้อนใกล้ ๆ  อิเควเตอร์  ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นลงและพาดผ่านประเทศไทยช้ากว่า

               แนวโคจรของดวงอาทิตย์ประมาณ 1 เดือน ความกว้างของร่องมรสุมประมาณ 6-8 องศาละติจูด

                                   3.3.1.1.5 ลมมรสุมมีกําลังแรง (Stong monsoon) มรสุม คือลมประจําฤดู ลมมรสุม

               เกิดขึ้นเนื่องจากความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของพื้นดิน  และพื้นน้ําในฤดูหนาวและฤดูร้อน  ในฤดูหนาว

               อุณหภูมิของอากาศเหนือพื้นทวีปเย็นกว่าอากาศเหนือพื้นที่มหาสมุทรที่อยู่ใกล้เคียง อากาศเหนือพื้นน้ําจึงมี

               อุณหภูมิสูงกว่าและลอยตัวขึ้นสู่เบื้องบน อากาศเหนือทวีปซึ่งเย็นกว่าจึงไหลไปแทนที่ ทําให้เกิดลมพัดออกจาก

               ทวีปพอถึงฤดูร้อนอุณหภูมิของดินภาคพื้นทวีปสูงกว่าน้ําในมหาสมุทรเป็นเหตุให้เกิดลมพัดไปในทิศทางตรงกัน

               ข้ามประเทศไทย ซึ่งอยู่ในเขตอิทธิพลของมรสุม  ประเทศไทยจึงอยู่ในอิทธิพลของมรสุม 2  ฤดู คือ มรสุม

               ตะวันตกเฉียงใต้ และมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งพัดประมาณฤดูกาลละ 6 เดือน

                                          - มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (Southwest Monsoon) มรสุมนี้ก่อให้เกิดอุทกภัย

               ได้  เนื่องมาจากเมื่อพัดจากมหาสมุทรอินเดียปะทะขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้  และเมื่อผ่านอ่าวไทยแล้วจะ

               ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของอ่าวไทย  มรสุมนี้เริ่มต้นตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม และสิ้นสุดลงตอนต้นเดือน

               ตุลาคม ในระยะเมื่อมรสุมตะวันตกเฉียงใต้แรงจัด ความเร็วของลมอาจจะสูงถึง 30 น๊อต เป็นระยะเวลาหลาย

               ๆ วัน คลื่นทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้ใหญ่มาก เนื่องจากลมแรงจัดประการหนึ่ง อีกประการหนึ่งอ่าวเบงกอล

               และมหาสมุทรอินเดีย มีช่วงระยะที่ลมเคลื่อนที่ไกลมาก คลื่นและลมจึงพัดพาน้ําทะเลในอ่าวเบงกอลมาสะสม

               ทางขอบฝั่งตะวันตกของภาคใต้ตลอดฝั่ง  ทําให้ระดับน้ําในทะเลตามขอบฝั่งสูงขึ้นมากจากระดับน้ําทะเลปาน

               กลางในฤดูนี้และในระยะเดียวกัน  ถ้าเกิดพายุดีเปรสชันขึ้นในอ่าวเบงกอลทางฝั่งตะวันตกของภาคใต้  ผลอัน

               เกิดจากความกดอากาศต่ําในบริเวณพายุและผลอันเกิดจากฝนที่ตกหนักบนภูเขาและชายฝั่งรวมเข้าด้วยกัน

               แล้ว จะทําให้เกิดระดับน้ําในทะเลและแม่น้ําสูงจนเป็นน้ําท่วมและเกิดอันตรายได้

                                            - มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeast  monsoon)  เริ่มตั้งแต่ปลาย

               เดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์  ตั้งต้นพัดจากประเทศจีนและไซบีเรียผ่านทะเลจีนใต้ปะทะขอบฝั่ง

               เวียดนาม  ส่วนที่หลุดจากปลายแหลมอินโดจีนจะพัดผ่านอ่าวไทยตอนใต้ปะทะขอบฝั่งตะวันออกของภาคใต้

               หรือฝั่งตะวันตกของอ่าวไทยตั้งแต่ใต้สงขลาลงไป มรสุมนี้มีกําลังแรงจัดเป็นคราว ๆ เมื่อบริเวณความกดอากาศ

               สูงในประเทศจีนมีกําลังแรงขึ้น ลมในทะเลจีนใต้มีความเร็วถึง 30-35 น๊อต ( 52 กม. ถึง 64 กม.) แต่เนื่องด้วย

               มรสุมนี้ปะทะขอบฝั่งเวียดนามเป็นส่วนใหญ่  จึงทําให้ลมมรสุมที่พัดผ่านเข้ามาในอ่าวนั้น มีช่วงระยะที่ลม

               เคลื่อนที่ไม่ได้ไกล  จึงไม่ได้รับความกระทบกระเทือนมากเป็นแต่เพียงคลื่นค่อนข้างใหญ่และระดับน้ําสูงกว่า

               ปกติ  แต่ก็ไม่สูงมากนัก  ลมที่พัดแหลมญวนและทางใต้ลงไปจะทําให้เกิดผลทางขอบชายฝั่งตะวันออกของ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30