Page 24 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 24

16





                   เหนียว หรือดินเหนียวจัด หน้าดินแตกระแหงเป็นร่องลึกในฤดูแล้ง พบรอยไถลในดิน สีดินเป็นสีดำ เทา
                   เข้ม หรือน้ำตาล ดินล่างอาจพบชั้นปูนมาร์ล มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง pH ประมาณ 7.0 ถึง 8.5

                              ปัญหา : เนื้อดินเหนียวจัด ต้องทำการไถพรวนขณะที่มีความชื้นพอเหมาะ ฤดูฝนมีน้ำแช่ขังได้ง่าย

                              กลุ่มชุดดินที่ 29
                              ลักษณะดิน : เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้ว

                   เคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุหลายชนิดที่มีเนื้อละเอียด ทั้งจากหินตะกอน หินภูเขาไฟ หรือตะกอนน้ำ พบ
                   บริเวณที่ดอน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง

                   ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ pH  4.5-5.5

                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ อาจขาดน้ำได้หากฝนทิ้งช่วงนาน
                              กลุ่มชุดดินที่ 33

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ บริเวณสันดินริมน้ำเก่า เนินตะกอนรูปพัด หรือที่ราบ
                   ตะดอนน้ำพา เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้ง หรือดินร่วน

                   ละเอียด สีน้ำตาลหรือน้ำตาลปนแดง ในดินล่างลึกๆ อาจพบจุดประสีเทา และน้ำตาล อาจพบแร่ไมกา

                   หรือก้อนปูนปนอยู่ด้วย ความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง pH  7.0 ถึง 8.5
                              กลุ่มชุดดินที่ 35

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก

                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ส่วนใหญ่มาจากหินตะกอน พบบริเวณที่
                   ดอน เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนละเอียดที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนปน

                   ทราย ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย สีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินล่างอาจพบจุดประสีต่าง ๆ มี

                   ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 4.5 ถึง 5.5
                              ปัญหา : เนื้อดินเป็นทราย และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้าง

                   พังทลายของหน้าดิน
                              กลุ่มชุดดินที่ 40

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก

                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบที่ ลักษณะดินเป็นดินลึก มีการระบายน้ำดี
                   เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหยาบ สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินล่างอาจพบจุดประสีต่าง ๆ ในชั้นดินล่าง

                   ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 4.5 ถึง 5.5
                              ปัญหา : เนื้อดินค่อนข้างเป็นทราย เสี่ยงต่อการขาดน้ำง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะ

                   มีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน

                              กลุ่มชุดดินที่ 44
                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ของวัสดุ

                   เนื้อหยาบ ลักษณะดินเป็นดินลึก มีการระบายน้ำดีมากเกินไป เนื้อดินเป็นพวกดินทราย สีเทา น้ำตาลอ่อน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29