Page 22 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 22

14





                   พบรอยไถลในดิน สีดินส่วนมากเป็นสีดำ หรือสีเทาแก่ มีจุดประสีแดง เหลือง อาจพบจุดประสีแดงบ้าง ชั้น
                   ดินล่างมักมีก้อนปูนปะปน pH ประมาณ 6.5 ถึง 8.0 มีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง

                              ปัญหา : ดินเหนียวจัด แตกเป็นร่องลึก ไถพรวณลำบาก และพืชที่ปลูกอาจขาดแคลนน้ำได้

                   ง่าย เมื่อฝนทิ้งช่วงนานกว่าปกติ
                              กลุ่มชุดดินที่ 5

                               ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม
                   หรือราบเรียบ เป็นดินลึกมีการระบายน้ำเลว ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่าง

                   เป็นดินเหนียวสีน้ำตาลอ่อน หรือเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ตลอดชั้นดิน มักพบก้อนเคมี

                   สะสมของ เหล็ก และแมงกานีสปะปนอยู่ และในดินล่างลึกๆ อาจพบก้อนปูน ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้าง
                   ต่ำถึงปานกลาง pH ประมาณ 5.5 ถึง 6.5 แต่ถ้ามีก้อนปูนปะปน pH จะอยู่ในช่วง 7.0 ถึง 8.0

                              กลุ่มชุดดินที่ 6
                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นพื้นที่

                   ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว

                   หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาล หรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดงตลอด
                   ชั้นดิน บางแห่งมีศิลาแลงอ่อน หรือก้อนเคมีสะสมของเหล็ก หรือแมงกานีส ความอุดมสมบูรณ์ต่ำหรือ

                   ค่อนข้างต่ำ pH ประมาณ 4.5 ถึง 5.5

                              ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                              กลุ่มชุดดินที่ 7

                               ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ ในบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา พื้นที่เป็นที่

                   ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลวหรือค่อนข้างเลว ดินบนเป็นดินร่วนเหนียว
                   หรือดินเหนียว สีเทาแก่ ดินล่างเป็นดินเหนียวสีน้ำตาลอ่อน เทา หรือน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาล

                   เหลือง หรือแดงตลอดชั้นดิน pH จะอยู่ในช่วง 6.0 ถึง 7.0
                              กลุ่มชุดดินที่ 15

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนน้ำ พบบริเวณพื้นที่ราบตะกอนน้ำพา เป็นดินลึกที่มีการ

                   ระบายน้ำค่อนข้างเลว หรือเลว เนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ดินบนสี
                   น้ำตาลปนเทา ดินล่างสีน้ำตาล หรือเทาปนชมพู พบจุดประสีเหลืองหรือน้ำตาลปนเหลืองตลอดหน้าตัดดิน

                   ในดินล่างมักพบก้อนสารเคมีสะสมจำพวกเหล็ก และแมงกานีส ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำถึงปานกลาง pH
                   ประมาณ 6.0 ถึง 7.5

                              ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ หน้าดินแน่นทึบ

                              กลุ่มชุดดินที่ 17
                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการ

                   สลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ เป็นดินลึกมาก มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ดิน
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27