Page 25 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 25

17





                   ในดินล่างที่ลึกมากกว่า 150 เซนติเมตร อาจพบเนื้อดินร่วนเหนียวปนทราย อาจพบจุดประสีต่าง ๆ ในชั้น
                   ดินล่าง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.5 ถึง 7.0

                              ปัญหา : เนื้อดินเป็นทรายจัดและหนามาก มีโอกาสขาดน้ำง่าย ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

                   โครงสร้างไม่ดี
                              กลุ่มชุดดินที่ 46

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก
                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียดของพวกหินตะกอน หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินตื้น

                   มาก มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียวปนกรวด ลูกรัง หรือเศษหินที่มีเหล็กเคลือบ พบภายในความลึก

                   50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0 ถึง 6.5
                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลาย

                   ของหน้าดิน
                              กลุ่มชุดดินที่ 47

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก

                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อละเอียดที่มาจากทั้งหินตะกอน หรือ
                   หินอัคนี เป็นดินตื้น มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นดินเหนียวหรือดินร่วนที่มีเศษหินปะปนมาก มักพบหิน

                   พื้นตื้นกว่า 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ถึง ปานกลาง pH

                   ประมาณ 5.5 ถึง 7.0
                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่ในเนื้อดินมาก ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลาย

                   ของหน้าดินได้ง่าย

                              กลุ่มชุดดินที่ 48
                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินตะกอนลำน้ำ หรือจากการผุพัง

                   สลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ
                   วางทับอยู่บนชั้นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินพื้นหรือวัตถุต้นกำเนิดดินที่ชนิดต่างยุคกัน พบบริเวณที่ดอน

                   เป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง มีการระบายน้ำดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดิน

                   เหนียวปนลูกรังหรือเศษหินทราย พบในความลึกก่อน 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง และก่อนความลึก 100
                   เซนติเมตร จะเป็นชั้นดินเหนียวสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีแดง และมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่มาก อาจพบชั้นหินทราย

                   หรือหินดินดานที่ผุพังสลายตัวแล้วในชั้นถัดไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.5 ถึง 6.5
                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางแห่งก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจาย เป็นอุปสรรค

                   ต่อการเขตกรรม ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย

                              กลุ่มชุดดินที่ 49
                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากวัตถุต้นกำเนิดดินตะกอนลำน้ำ หรือจากการผุพัง

                   สลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30