Page 23 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 23

15





                   บนเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว ในบางพื้นที่
                   อาจมีเนื้อดินเป็นพวกดินทรายแป้งละเอียด สีน้ำตาลอ่อนถึงสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง บาง

                   แห่งพบศิลาแลงอ่อน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และแมงกานีสในดินล่าง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

                   pH ประมาณ 4.5 ถึง 5.5
                              ปัญหา : มีน้ำแช่ขังในฤดูฝน

                              กลุ่มชุดดินที่ 18
                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการ

                   สลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ดินบน

                   เป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน ดินล่างเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย หรือดินร่วนเหนียว สีน้ำตาลอ่อนถึง
                   สีเทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง บางแห่งพบศิลาแลงอ่อน หรือก้อนสารเคมีสะสมพวกเหล็ก และ

                   แมงกานีสในดินล่าง มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ชั้นดินบนมักมีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดมากถึงกรดปานกลาง
                   pH ประมาณ 5.0 ถึง 6.0 ส่วนดินล่างเป็นกรดปานกลางถึงเป็นด่างเล็กน้อย pH ประมาณ 6.0 ถึง 7.5

                              ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ดินบนค่อนข้างเป็นทราย เสี่ยงต่อการขาดน้ำ

                              กลุ่มชุดดินที่ 24
                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการ

                   สลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ เป็นดินลึกที่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงดีปานกลาง

                   เนื้อดินเป็นดินทรายปนดินร่วน หรือดินทราย สีน้ำตาลปนเทา หรือเทาปนชมพู มีจุดประสีน้ำตาลเหลือง หรือเทา
                   ในชั้นดินล่างบางแห่งอาจพบชั้นที่มีการสะสมอินทรียวัตถุ เป็นชั้นบาง ๆ มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก pH

                   ประมาณ 5.5 ถึง 6.5

                              ปัญหา : เนื้อดินเป็นดินทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ
                              กลุ่มชุดดินที่ 25

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก
                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบ วางทับอยู่บนชั้นหินผุ เป็นดินตื้นที่มีการ

                   ระบายน้ำค่อนข้างเลว เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย หรือดินร่วน ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวหรือร่วนปน

                   ดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปนเป็นปริมาณมาก ภายในความลึก 50 เซนติเมตร ดินมีสีน้ำตาลอ่อนถึงสี
                   เทา มีจุดประสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ใต้ชั้นลูกรังอาจพบชั้นดินเหนียวที่มีศิลาแลงอ่อนปะปน มีความ

                   อุดมสมบูรณ์ต่ำมาก pH ประมาณ 4.5-5.5
                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีโอกาสขาดน้ำ

                              กลุ่มชุดดินที่ 28

                              ลักษณะดิน : เกิดจากดินตะกอนลำน้ำ หรือวัตถุต้นกำเนิดที่ผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจาก
                   การสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาทับถมของวัตถุต้นกำเนิดที่มาจากหินบะซอลต์ แอนดีไซต์ พบบริเวณที่

                   ดอน ใกล้กับภูเขาหินปูน หรือหินภูเขาไฟ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี เนื้อดินเป็นพวกดิน
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28