Page 26 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 26

18





                   วางทับอยู่บนชั้นดินที่เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินพื้นหรือวัตถุต้นกำเนิดดินที่ชนิดต่างยุคกัน พบบริเวณที่ดอน
                   เป็นดินตื้นถึงตื้นมากถึงชั้นลูกรัง มีการระบายน้ำดีปานกลาง เนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดิน

                   เหนียวปนลูกรังหรือเศษหินทราย พบในความลึกก่อน 50 เซนติเมตร สีดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง และก่อนความลึก 100

                   เซนติเมตร จะเป็นชั้นดินเหนียวสีเทา มีจุดประสีน้ำตาล สีแดง และมีศิลาแลงอ่อนปนอยู่มาก อาจพบชั้นหินทราย
                   หรือหินดินดานที่ผุพังสลายตัวแล้วในชั้นถัดไป ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0 ถึง 6.5

                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ บางแห่งก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจาย เป็นอุปสรรค
                   ต่อการเขตกรรม ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย

                              กลุ่มชุดดินที่ 51

                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากการผุพัง
                   สลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อค่อนข้างหยาบ

                   หรือค่อนข้างละเอียด ที่มาจากหินตะกอน หรือหินแปร เป็นดินตื้นหรือตื้นมาก มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดิน
                   ร่วนปนเศษหิน ซึ่งมักเป็นพวก หินทราย ควอร์ตไซต์ หรือ หินดินดาน และพบชั้นหินพื้นภายในความลึก 50

                   เซนติเมตร ดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0 ถึง 5.5

                              ปัญหา : เป็นดินตื้น มีเศษหินปะปนอยู่มาก มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                              กลุ่มชุดดินที่ 52

                              ลักษณะดิน : เกิดจากตะกอนลำน้ำทับอยู่บนชั้นปูนมาร์ล พบบริเวณที่ลาดเชิงเขาหินปูน เป็นดินตื้น

                   ถึงตื้นมากถึงชั้นปูนมาร์ล มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นดินเหนียว หรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งที่มีก้อนปูนมาร์
                   ลปะปนอยู่ สีดินเป็นสีดำ สีน้ำตาล หรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง pH ประมาณ 7.0 ถึง 8.5

                              ปัญหา : มีปัญหาในการไถพรวน หากว่าชั้นปูนมาร์ลตื้นกว่า 25 เซนติเมตร

                              กลุ่มชุดดินที่ 53
                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่พบในเขตฝนชุก เช่น ภาคใต้ ภาคตะวันออก เกิดจากการผุพัง

                   สลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการสลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อละเอียด
                   ที่มาจากหินตะกอน หรือหินแปร เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี เนื้อดินเป็นพวกดินร่วนหรือดิน

                   ร่วนปนดินเหนียว ทับอยู่บนดินเหนียว ส่วนดินล่างในระดับความลึกระหว่าง 50 ถึง 100 เซนติเมตร เป็น

                   ดินเหนียวปนลูกรังหรือเศษหินผุ สีดินเป็นสีน้ำตาลอ่อน สีเหลือง หรือแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH
                   ประมาณ 5.0 ถึง 5.5

                              ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลายของหน้าดิน
                              กลุ่มชุดดินที่ 55

                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากเกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการ

                   สลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อละเอียดที่มีปูนปน พบบริเวณที่ดอน
                   เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี ถึงดีปานกลาง เนื้อดินเป็นดินเหนียว ในชั้นดินล่างในระดับความลึก

                   ระหว่าง 50 ถึง 100 เซนติเมตร พบชั้นหินผุซึ่งส่วนใหญ่เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียด บางแห่งมีก้อนปูน
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31