Page 27 - แล้งซ้ำซากจังหวัดสระแก้ว
P. 27

19





                   ปะปนอยู่ด้วย สีดินเป็นสีน้ำตาล สีเหลือง หรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง pH ประมาณ
                   6.0 ถึง 8.0

                              ปัญหา : ดินมีโครงสร้างแน่นทึบ ยากแก่การไชชอนของรากพืช

                              กลุ่มชุดดินที่ 56
                              ลักษณะดิน : เป็นกลุ่มชุดดินที่เกิดจากเกิดจากการผุพังสลายตัวอยู่กับที่ หรือจากการ

                   สลายตัวผุพังแล้วเคลื่อนย้ายมาในระยะทางไม่ไกลนักของวัสดุเนื้อหยาบที่มาจากหินตะกอน หรือหินอัคนี
                   พบบริเวณที่ดอน จนถึงที่ลาดเนินเขา เป็นดินลึกปานกลาง มีการระบายน้ำดี เนื้อดินตอนบนช่วง 50

                   เซนติเมตร เป็นดินร่วนหรือดินร่วนปนทราย ส่วนดินล่างเป็นดินปนเศษหิน มักพบชั้นหินพื้นลึกกว่า 100

                   เซนติเมตร ดินเป็นสีน้ำตาล เหลือง หรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ pH ประมาณ 5.0 ถึง 6.0
                              ปัญหา : ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ในที่ลาดชันสูงจะมีปัญหาการชะล้างพังทลายได้ง่าย

                              กลุ่มชุดดินที่ 59
                              ลักษณะดิน : พบบริเวณที่ราบลุ่ม หรือพื้นล่างของเนิน หรือหุบเขา เป็นหน่วยผสมของดิน

                   หลายชนิด ที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถมกัน ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำค่อนข้างเลวถึงเลว

                   มีลักษณะและคุณสมบัติชนิดต่าง ๆ ไม่แน่นอน ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุต้นกำเนิดดินบริเวณนั้น ๆ ส่วนมาก
                   มีก้อนกรวดและเศษหินปนอยู่ในเนื้อดินด้วย

                              ปัญหา : ใช้ทำนา หรือปลูกผักในฤดูแล้ง

                              กลุ่มชุดดินที่ 60
                              ลักษณะดิน : พบบริเวณสันดินริมน้ำ บริเวณพื้นที่เนินตะกอน เป็นหน่วยผสมของดินหลาย

                   ชนิด ที่เกิดจากตะกอนลำน้ำพัดพามาทับถม ดินที่พบส่วนใหญ่มีการระบายน้ำดีถึงดีปานกลาง เป็นดินลึก

                   เนื้อดินเป็นพวกดินร่วน บางแห่งมีชั้นดินที่มีดินค่อนข้างเป็นทราย หรือมีชั้นกรวด ซึ่งแสดงถึงการ
                   ตกตะกอนต่างยุคของดิน อันเป็นผลมาจากการเกิดน้ำท่วมใหญ่ในอดีต โดยทั่วไปเป็นดินที่มีความอุดม

                   สมบูรณ์ปานกลาง pH ประมาณ 6.0  ถึง 7.0
                              ปัญหา : ปลูกพืชไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น

                              กลุ่มชุดดินที่ 62

                              ลักษณะดิน : ดินนี้ประกอบด้วยพื้นที่ภูเขา ซึ่งมีความลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ ดินที่พบ
                   ในบริเวณดังกล่าวนี้ มีทั้งดินลึกและดินตื้น ลักษณะของเนื้อดิน และความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติแตกต่างกันไป

                   แล้วแต่ชนิดของหินต้นกำเนิดในบริเวณนั้น มักมีเศษหิน ก้อนหิน หรือหินพื้นโผล่ กระจัดกระจายทั่วไป ส่วนใหญ่
                   ยังปกคลุมด้วยป่าไม้ประเภทต่าง ๆ เช่นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าดิบชื้น หลายแห่งมีการทำไร่เลื่อนลอย

                   โดยปราศจากมาตรการในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน จนบางแห่งเหลือแต่

                   หินพื้นโผล่ ได้แก่ ชุดดินที่ลาดชันเชิงซ้อน กลุ่มชุดดินนี้ไม่ควรนำมาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร เนื่องจากมีปัญหา
                   หลายประการที่มีผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ ควรสงวนไว้เป็นป่าตามธรรมชาติ เพื่อรักษาแหล่งต้นน้ำลำธาร

                              ปัญหา : พื้นที่ภูเขาลาดชันมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ มีการกัดกร่อนของดินได้ง่าย
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32