Page 15 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 15

7







                2.2 ลักษณะภูมิประเทศ
                         มีพื้นที่รวมประมาณ 106,027,680 ไร่ ประกอบด้วยจังหวัดในเขตภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่

                จังหวัดกำแพงเพชร เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่

                แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน สุโขทัย อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี ภูมิประเทศส่วนใหญ่ประกอบด้วย  ทิวเขา
                ภูเขา หุบเขาและแอ่งแผ่นดินระหว่างภูเขา เทือกเขาสูงทอดตัวยาวในแนวเหนือใต้มีเทือกเขาแดนลาวเป็น

                เทือกเขาสำคัญด้านทิศเหนือใช้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์
                ทางด้านตะวันตกมีเทือกเขาถนนธงชัยมียอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ได้แก่ ยอดดอยอินทนนท์ มีความ

                สูงจากระดับทะเลปานกลาง 2,595 เมตร ตอนกลางของภาคมีเทือกเขาผีปันน้ำ มียอดเขาสูงที่สุด ได้แก่

                ยอดเขาขุนตาลมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 850-1,000 เมตร ด้านตะวันออกของภาคมี
                เทือกเขาหลวงพระบางใช้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

                ในเขตจังหวัดน่าน เทือกเขาดังกล่าวเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ 4 สาย ได้แก่ แม่น้ำปิง

                แม่น้ำวัง แม่น้ำยม และแม่น้ำน่าน
                         อีกทั้งยังเป็นบริเวณที่มีความสำคัญในทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านเกษตรกรรม

                และการตั้งถิ่นฐานของประชากรในภูมิภาคนี้ ดังนั้นบริเวณภาคเหนืออาจแยกพิจารณาออกเป็นบริเวณๆ

                ซึ่งมีลักษณะโครงสาร้างและภูมิประเทศแตกต่างกันออกไปได้ 7 บริเวณ ดังต่อไปนี้
                         1. บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีแนวทิวเขาแดนลาวเป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทย

                กับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ส่วนทางตะวันตกของจังหวัดเชียงใหม่ทิวเขาถนนธงชัย ซึ่งแยกจาก
                ทิวเขาแดนลาวทอดยาวลงไปทางใต้ เป็นเส้นแบ่งเขตจังหวัดเชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน และตอนบนของ

                จังหวัดตากประกอบด้วยทิวเขาสลับซับซ้อน การคมนาคมไม่สะดวก บริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอนมีที่ราบ
                แคบๆระหว่างภูเขาบริเวณอำเภอเมือง และอำเภอแม่สะเรียง ซึ่งมีแม่น้ำยวมไหลผ่าน แนวทิวเขา

                ทางด้านนี้เดิมสันนิษฐานว่าเป็นพื้นที่เกือบราบ (Peneplain) แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา

                ประกอบกับการสึกกร่อนจึงทำให้ภูมิประเทศขรุขระ
                         2. บริเวณที่ราบเชียงใหม่-ลำพูน ถัดจากเทือกเขาทางด้านตะวันตกของภาคเข้ามาเป็นที่ราบที่

                เกิดจากรอยเลื่อน การกัดเซาะสึกกร่อน และการทับถม ประกอบด้วยที่ราบขั้นบันได (Terraces) และที่

                ราบลุ่มมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกและเป็นแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญ
                มากแห่งหนึ่งในภาคเหนือ

                         3. บริเวณตอนกลางของภาค ประกอบด้วยทิวเขาผีปันน้ำ ซึ่งกั้นระหว่างจังหวัดเชียงใหม่กับ

                เชียงราย และเชียงใหม่-ลำพูน กับลำปาง เป็นส่วนที่แบ่งให้น้ำไหลลงสู่ที่ราบสำคัญได้แก่ แม่น้ำวังไหลลง
                สู่แอ่งต่างๆในจังหวัดลำปาง และลงสู่แม่น้ำปิงที่จังหวัดตาก ทิวเขาผีปันน้ำอีกส่วนหนึ่งกั้นระหว่างจังหวัด

                ลำปางกับแพร่ มีน้ำไหลลงที่ราบในจังหวัดลำปาง และแพร่าอีกหลายสาย ทำให้บริเวณเหล่านั้นมี
                ความสำคัญในด้านเกษตรกรรมมาจนถึงปัจจุบัน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20