Page 20 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 20

12







                          หน่วยที่ดินที่ 2
                          เป็นดินลึกและเหนียวจัด การระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง เนื้อดินละเอียด ความอุดมสมบูรณ์

                ปานกลางถึงสูง มีความลาดชันเล็กน้อย เหมาะสมใช้ปลูกพืชไร่ เช่น ฝ้าย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วต่างๆ

                          ปัญหาและการจัดการ เนื่องจากเป็นดินเหนียวจัด จึงควรระมัดระวังในการไถพรวนให้
                เหมาะสมกับสภาพความชื้นในดิน มิฉะนั้นจะทำให้เกิดชื้นแข็งในดินล่างได้

                          หน่วยที่ดินที่ 3
                          เป็นดินลึก เนื้อละเอียด การระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำหรือ

                ต่ำมีความลาดชันตั้งแต่ระดับน้อยจนถึงมีความลาดชันมาก เหมาะสมใช้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าวโพด

                ข้าวฟ่าง ฝ้าย ละหุ่ง อ้อย และถั่วต่างๆ นอกจากนี้ยังสามารถปลูกไม้ผลได้
                          ปัญหาของหน่วยที่ดินที่ 3 ได้แก่ ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ และอาจมีอัตราการชะล้างพังทลาย

                สูง ดังนั้นจึงควรมีมาตรการอนุรักษ์ดินและปลูกพืชทนแล้ง หรือกำหนดช่วงปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพ

                ของสภาพภูมิอากาศในท้องถิ่น ตลอดจนต้องปรับปรุงบำรุงดินด้วยการเพิ่มอินทรียวัตถุร่วมกับปุ๋ย
                วิทยาศาสตร์

                          หน่วยที่ดินที่ 4

                          มีลักษณะเป็นดินลึก เนื้อดินเนื้อละเอียดปนทราย การระบายน้ำดีหรือดีปานกลาง ความอุดม
                สมบูรณ์ต่ำ มีความลาดชันน้อยจนถึงลาดชันมาก เหมะสมในการเพาะปลูกอย่างถาวร โดยเฉพาะพืชไร่

                ต่างๆ เช่น ปอ ถั่ว มันสำปะหลัง อ้อย พืชผักต่างๆ เช่น แตงโม สับปะรด นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปลูกไม้
                ผลได้

                          ปัญหาการใช้ที่ดิน ในพื้นที่ที่มีความลาดชันมากจะพบปัญหาการชะล้างพังทลาย จึงควรมี
                มาตรการอนุรักษ์ดินในพื้นที่มีความลาดชันมาก นอกจากนี้ควรใส่ปุ๋ยให้แก่พืช รวมทั้งเลือกชนิดพืช และ

                ช่วงเพาะปลูกอย่างเหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น

                          หน่วยที่ดินที่ 5
                          มีลักษณะเป็นดินลึกปานกลางหรือดินตื้น เนื้อดินละเอียดหรือละเอียดปานกลาง ความอุดม

                สมบูรณ์ปานกลาง มีปริมาณอินทรียวัตถุสูง ความลาดชันเล็กน้อยถึงลาดชันปานกลาง ดินหน่วยนี้มีความ

                เหมาะสมสำหรับปลูกพืชไร่ เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย และถั่วต่างๆบางพื้นที่อาจไม่เหมาะสมสำหรับ
                ปลูกพืชไร่รากลึก เช่น มันสำปะหลัง

                          ปัญหาการใช้ที่ดินหน่วยที่ 5 ได้แก่ ดินตื้น และบางพื้นที่อาจมีความลาดชัน ดังนั้นควรมีการ

                อนุรักษ์ดินและเลือกชนิดพืชที่ปลูกให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25