Page 23 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 23
15
ปิงที่อำเภอบ้านตาก แม่น้ำวังมีความยาวประมาณ 300 กิโลเมตร และไม่มีลำน้ำสาขาขนาดใหญ่
เช่นเดียวกับแม่น้ำปิง แต่มีน้ำแม่ตุ๋ยและน้ำแม่จางซึ่งเป็นห้วยขนาดใหญ่ไหลมารวมกับแม่น้ำวัง
ที่บริเวณอำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
6. แม่น้ำยม มีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาในเขตอำเภอปง จังหวัดพะเยา ไหลมาบรรจบกับน้ำ
แม่งาวในเขตอำเภอสอง บริเวณที่ทางหลวงสายอำเภอร้องกวาง-อำเภองาวตัดผ่านแล้วไหลลงมาทางใต้
ผ่านที่ราบจังหวัดแพร่ ผ่านซอกเขาในเขตอำเภอสอง มาออกที่ราบของจังหวัดสุโขทัยที่อำเภอ
ศรีสัชนาลัย อำเภอสวรรคโลก อำเภอเมืองสุโขทัย อำเภอกงไกรลาศ และไหลผ่านเข้ามาในเขตจังหวัด
พิษณุโลกที่อำเภอบางระกำไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ รวมความยาว
ทั้งสิ้นประมาณ 530 กิโลเมตร
7. แม่น้ำน่าน มีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาตอนเหนือของจังหวัดน่านและไหลลงใต้ผ่านที่ราบ
ผืนแคบ ๆ ของจังหวัดน่าน แล้วไหลผ่านซอกเขาลงมาทางใต้จนถึงอำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้น
แม่น้ำน่านจะเริ่มเบนตัวไปทางทิศตะวันตกและไหลออกสู่ที่ราบจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตรแล้วมา
บรรจบกับแม่น้ำยมที่อำเภอชุมแสง แล้วจึงไหลเข้ารวมกับแม่น้ำปิงไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาที่จังหวัด
นครสวรรค์ แม่น้ำน่านมีความยาวประมาณ 615 กิโลเมตร
2.8 ทรัพยากรป่าไม้
จังหวัดที่มีป่าไม้มากที่สุดของภาคเหนือคือ เชียงใหม่ 14,060 ตร.กม รองลงมาคือ
แม่ฮ่องสอน 8,763 ตร.กม จังหวัดที่มีป่าไม้หนา แน่นที่สุดคือ เชียงใหม่ ( ร้อยละ 70.0 ของพื้นที่จังหวัด)
จังหวัดที่มีป่าไม้เบาบางที่สุดคือ เชียงราย (ร้อยละ 32.7 ของพื้นที่จังหวัด) ป่าไม้ใน ภาคเหนืออาจจำแนก
ตามลักษณะของพืชพรรณที่ขึ้นได้ดังนี้
1.ป่าเบญจพรรณ หรือเรียกว่า"ป่าผสมผลัดใบ" หรือ "ป่าโปร่งผสม" มีถึงร้อยละ 46 ของพื้นที่
ป่าไม้ทั้งหมดของภาคเหนือ ป่าเบญจพรรณที่มีไม้สักขึ้นอยู่ทั่วไปเรียกว่า "ป่าสัก" ซึ่งมีอยู่ในทุกจังหวัด
ของภาคเหนือ (และรองลงมาถึงตากและกาญจนบุรี) ถ้าเป็นที่ราบหรือบริเวณเชิง เขาที่มีดินค่อนข้างแห้ง
หรือเป็นดินกรวดลูกรัง จะมีป่าแดงหรือป่าแพะ
2.ป่าดิบ ในภาคเหนือมีป่าดิบแล้ง พบตามที่ลุ่มชื้น ริมห้วย ลำธารและตามริมแม่น้ำใหญ่จนถึง
ระดับสูง 1,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลและมี ป่าดิบเขาใน ประเทศไทยมีอยู่ในภาคเหนือ ที่ระดับสูง
กว่า 1,000 เมตรจากระดับน้ำทะเลขึ้นไป มีไม้จำปีและไม้เมืองหนาวขึ้นอยู่ทั่วไป เป็นพื้นที่ ๆ ถูก ถาก
ถางเพื่อทำไร่เลื่อนลอย ซึ่งปัจจุบันได้มีการส่งเสริมการปลูกผักและผลไม้เมืองหนาว และให้ชาวไทยภูเขา
ทำการเกษตรอยู่กับที่
3. ป่าสนเขาส่วนใหญ่พบอยู่บนเขาที่สูงเหนือระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 700 เมตรขึ้นไปป่าสนที่
ปรากฏอยู่ในภาคเหนือนั้นมีทั้งที่ขึ้นปะปนอยู่กับไม้ชนิดอื่น เช่น รัง เต็ง เหียง พลวง หรือขึ้นเป็นป่าสนล้วน