Page 26 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 26

18






                                                           บทที่ 3

                                                      การตรวจเอกสาร



               3.1 ความหมายของความแห้งแล้ง

                     ค ว า ม แห้งแล้ง หมายถึง สภาพพื้นที่ที่ขาดน้ำ จ า ก ก ารที่ฝนทิ้งช่วงเป็นระยะเวลานาน หรือ

               ฝนไม่ตกตามฤดูกาลเป็นพื้นที่ที่อยู่ห่างจากแหล่งน้ำ หรือไม่มีแหล่งน้ำเพียงพอ ทำให้ดินขาดความชุ่มชื้น  ประกอบกับ

               ดิน มีความสามารถระบายน้ำได้ดี ความแห้งแล้งสามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาลทุกสภาพพื้นที่ และอาจคงอยู่ได้อย่าง
               ไม่จำกัดเวลา (สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, 2555)

                     ความแห้งแล้งด้านการเกษตร หมายถึง สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำสำหรับพืช
               ทำให้พืชได้รับความเสียหายเป็นบริเวณกว้าง (สถาบันวิจัย พัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทรายและการเตือนภัย,

               2548)

                     พื้นที่แล้งซ้ำซากด้านการเกษตร หมายถึง พื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือบ่อยครั้ง จน
               สร้างความเสียหายต่อพื้นที่เกษตรกรรม อันมีสาเหตุมาจากฝนตกน้อยกว่าปกติหรือฝนตกไม่เป็นไปตามฤดูกาล แต่

               ส่วนใหญ่เกิดจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานานในพื้นที่ทำการเกษตร (สถาบันวิจัย พัฒนาเพื่อป้องกันการเป็นทะเลทราย

               และการเตือนภัย, 2548)



               3.2 ประเภทของภัยแล้ง

                     พจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ราชบัณฑิตย์สถาน กล่าวโดยทั่วไปได้ว่าเป็นช่วงเวลา ซึ่งอากาศแห้งผิดปกติหรือ
               ขาดฝน ทำให้เกิดการขาดแคลนน้ำใช้และพืชผลต่าง ๆ เสียหาย ความรุนแรงของช่วงฝนแล้งนั้นขึ้นอยู่กับความชื้น

               ในอากาศ ระยะเวลาที่เกิดความแห้งแล้ง และความ กว้างใหญ่ไพศาลของบริเวณพื้นที่ที่มีความแห้งแล้ง ให้รายละเอียด
               ได้ดังนี้ (สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, 2555)

                     3.2.1 ความแห้งแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา ห ม ายถึง ปริมาณฝนโดยเฉลี่ยจะมีปริมาณน้อยกว่าเดิม

               เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงระยะเวลายาวนานในอดีตที่ผ่านมา
                     3.2.2 ความแห้งแล้งภาคทางอุตุนิยมวิทยาเกษตร หมายถึง พิจารณาถึงความชื้นในดินพอเพียงที่สามารถจะ

               นำไปใช้ประโยชน์สำหรับพืช โดยจะพิจารณาจากผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูก เปรียบเทียบกับสภาวะที่พืชใช้น้ำ
               ปกติ ถ้าผลผลิตที่ได้มีปริมาณน้อยกว่าโดยเฉลี่ยแล้วก็คงเพราะสาเหตุของการขาดแคลนน้ำ

                     3.2.3 ความแห้งแล้งเชิงอุทกวิทยา หมายถึง ความแห้งแล้งที่เกิดจากช่วงฤดูกาลที่มีปริมาณฝนตกน้อย

               หรือไม่มีฝนตก ทำให้ระดับน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินคือ น้ำในแม่น้ำ อ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ และน้ำบาดาลลดระดับลง
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31