Page 31 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 31
23
เล็กในไร่นา โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานเพื่อให้เกษตรกรใช้เก็บกักน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินมากขึ้น และเป็นการช่วยเพิ่มระดับน้ำใต้ดินด้วย นอกจากนี้การสร้างถังเก็บน้ำฝนสำหรับ
รองรับน้ำฝนจากหลังคาบ้าน หลังคาโรงเรือนต่างๆ เก็บน้ำฝนไว้ใช้ประดยชน์ในฤดูแล้ง เพื่อการออุปโภคบริโภคได้
อีกทางหนึ่ง
2.3 เพิ่มอินทรียวัตถุในดินเพื่อเป็นการเพิ่มชิ่งว่างในดินทำให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้ โดย
อินทรียวัตถุ มีลักษณะเป็นสารคอลลอยด์ อนุภาคของอินทรียวัตถุ ประกอบกันเป็นโครงสร้างมีลักษณะคล้าย
ฟองน้ำ มีช่องว่างขนาดเล็ก ทำให้มีพื้นที่ผิวในการดูดซับน้ำได้มากเป็นพิเศษ ปริมาณอินทรียวัตถุที่เพิ่มขึ้นทุก 1
เปอร์เซ็นต์ จะช่วยเพิ่มความจุดของน้ำที่เป็นประโยชน์ เพิ่มขึ้น 1.5 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้ อินทรียวัตถุยังช่วยให้
ดินมีดครงสร้างดีขึ้น มีความร่วนซุย การซาบซึมของน้ำดีขึ้น จึงช่วยให้ดินสามารถเก็บกักน้ำไว้ได้มากขึ้น และเพิ่ม
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน
2.4 การจัดระบบการปลูกพืชที่เหมาะสม การเพาะปลูกพืชจำเป็นต้องอาศัยน้ำ ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับ
จากน้ำฝน นอกจากปริมาณน้ำฝนที่ได้รับในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคมแล้ว ยังต้องพิจารณาถึงการ
กระจายของฝนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งจะมีฝนทิ้งช่วงแตกต่างกัน การเพาะปลูกจึงตองหลึกเลี่ยงระยะฝนทิ้งช่วง เพื่อให้
ได้รับผลผลิตที่ดีมีคุณภาพ บางพื้นที่ก็มีปัญหาน้ำท่วมจากปริมาณน้ำท่าที่ไหลเอ่อล้นฝั่งลำน้ำ อาจทำให้พืชผลเสีย
หาน การจัดระบบการปลูกพืชจึงต้องคำนึงหรือหลีกเลี่ยง ทั้งช่วงแล้งและช่วงน้ำท่วม หรือการหาพันธุ์พืช ชนิดพืช
ที่เหมาะสมในแต่ละท้องถิ่น
2.5 การรักษาฟื้นฟูพื้นที่ป่าโดยเฉพาะพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธาร ช่วยให้เกิดการสะสมน้ำในดินและน้ำใต้
ดิน รวมทั้งการปลูกไม้ยืนต้นเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ ช่วยชะลอการไหลของน้ำไม่ให้ไหลลงสู่ที่ต่ำอย่าง
รวดเร็วและรุนแรง ป่านอกจากช่วยเก็บกักน้ำฝนไว้ในชั้นดิน และอากาศเหนือผิวดินในรูปของไอน้ำแล้ว ป่าไม้ที่
สมบูรณ์ยังช่วยให้มีน้ำไหลในลำธารตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการรักษาสภาพป่า และการ
ฟื้นฟูป่าไม้ให้สมบูรณ์
3.7 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
กรรณิกา และนพกร (2557) ได้ศึกษาการวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร
โดยกำหนดปัจจัยหลักที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้ง โดยการประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อ
วิเคราะห์ความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งได้กำหนดปัจจัยที่ใช้ทั้งหมด 4 ปัจจัย เป็นปัจจัยหลักโดยปัจจัยที่มี
ความสำคัญ และคาดว่าน่าจะมีผลต่อการเกิดความแห้งแล้งมากที่สุดในพื้นที่ประกอบด้วย ปริมาณน้ำฝน ระยะห่าง
แหล่งน้ำ และการหาความสัมพันธ์ระหว่างใช้ประโยชน์ที่ดิน และค่าดัชนีพืชพรรณ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลความ
เสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร โดยการซ้อนทับข้อมูล (Map Overlay) จากแผนที่ที่จัดทำขึ้น