Page 35 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 35
26
บทที่ 4
ผลการศึกษา
4.1 พื้นที่แล้งซ้ำซาก
จากการวิเคราะห์ข้อมูล และปัจจัยที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการถ่วงค่าน้ำหนักในแต่ละปัจจัย ร่วมกับระบบ
สารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก ซึ่งปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์และกำหนด
ขอบเขต ประกอบด้วย ข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) ข้อมูลสถิติ (Statistic data) ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝน
เฉลี่ยรายปี ข้อมูลความต้องการน้ำของพืช ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน พื้นที่ชลประทาน แหล่งน้ำใต้ดิน
สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน ความลาดเทของพื้นที่ ข้อมูลประวัติการเกิดภัยแล้งในประเทศไทย ทำการวิเคราะห์
ข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ และวิเคราะห์ตามน้ำหนักตัวแปร พร้อมกับข้อมูลการสำรวจในพื้นที่จริง
เพื่อกำหนดพื้นที่แล้งซ้ำซาก สามารถแบ่งระดับพื้นที่แล้งซ้ำซากได้เป็น 3 ระดับ และจัดทำเป็นแผนที่แสดงพื้นที่
แล้งซ้ำซากรายภาค และรายจังหวัด โดยพื้นที่เป้าหมายภาคเหนือ 17 จังหวัด คือ กำแพงเพชร เชียงราย เชียงใหม่
ตาก นครสวรรค์ น่าน พะเยา พิจิตร พิษณุโลก เพชรบูรณ์ แพร่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
พบว่ามีเนื้อที่แล้งซ้ำซากทั้งหมด 26,965,594 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของพื้นที่ประเทศไทย และสามารถแบ่ง
ออกเป็น 3 ระดับ คือ ดังนี้คือ (ตารางที่ 3 และภาพที่ 3)
ระดับที่ 1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 14,208,075 ไร่
ระดับที่ 2 พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 3,929,927 ไร่
ระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 8,827,592 ไร่
ตารางที่ 3 ระดับความรุนแรงต่อการเกิดพื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือ 17 จังหวัด
ระดับความรุนแรงต่อการเกิดพื้นที่แล้งซ้ำซาก เนื้อที่ (ไร่) ร้อยละ
ระดับที่ 1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี 14,208,075 52.70
ระดับที่ 2 พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี 3,929,927 14.57
ระดับที่ 3 พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี 8,827,592 32.73
รวม 26,965,594 100.00
สามารถอธิบายพื้นที่แล้งซ้ำซากในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัด แยกเป็นรายจังหวัดได้ดังนี้
1. จังหวัดกำแพงเพชร พื้นที่แล้งซ้ำซากทั้งหมด 2,413,631 ไร่ สามารถแบ่งได้ 3 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,207,808 ไร่ ระดับที่ 2 พื้นที่แล้ง