Page 32 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 32
24
นำมาวิเคราะห์เพื่อจัดแบ่งระดับความเสี่ยงพื้นที่การเกิดภัยแล้ง โดยใช้ค่าคะแนนความสำคัญของปัจจัยหลักที่
กำหนดไว้ ผลการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งในพื้นที่ศึกษา พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
ความเสี่ยงในการเกิดความแห้งแล้งในจังหวัดกำแพงเพชร จึงมีความสัมพันธ์ที่เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำฝน และ
ระยะห่างของแหล่งน้ำ และผลการศึกษาความเสี่ยงต่อความแห้งแล้งของพื้นที่ที่ศึกษาพบว่า พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อ
ความแห้งแล้งมากที่สุดคิดเป็นพื้นที่ 922,094 ไร่ หรือร้อยละ 25.0 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความ
แห้งแล้งมาก คิดเป็นพื้นที่ 1,820,047 ไร่ หรือร้อยละ 49.3 ของพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้ง
แล้งปานกลาง คิดเป็นพื้นที่ 464,677 ไร่ หรือร้อยละ12.6 ของพื้นที่ทั้งหมด พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความแห้งแล้ง
น้อย คิดเป็นพื้นที่ 251,139 ไร่ หรือ ร้อยละ 6.8 ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อความ
แห้งแล้งน้อยที่สุด คิดเป็นพื้นที่ 36,375 ไร่ หรือร้อยละ 6.4 ของพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด
กัลยาณี (2548) ทำการวิเคราะห์ความเสี่ยงของสภาพหมู่บ้านจากภาวะภัยแล้ง โดยได้พิจารณาปัจจัยที่
เกี่ยวข้องกับภาวะภัยแล้ง 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยทางด้าน อุตุนิยมวิทยา ปัจจัยทางด้านอุทกวิทยา และปัจจัย
ทางด้านลักษณะทางกายภาพ รวมไปถึงค่าดัชนี พืชพรรณ (NDVI) จากข้อมูลดาวเทียม MODIS โดยได้ทำการ
วิเคราะห์จากระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ในการให้ค่าถ่วงน้ำหนัก ซึ่งปัจจัยด้านอุตุนิยมวิทยาที่นำมาวิเคราะห์
ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน อุณหภูมิ ปัจจัยด้านอุทกวิทยา ได้แก่ ความหนาแน่นของแหล่งน้ำ พื้นที่
ชุ่มน้ำ พื้นที่ชลประทาน และปัจจัยด้านกายภาพ พบว่า ประเทศไทยส่วนใหญ่ มีความเสี่ยงจากภัยแล้งในระดับ
ปานกลาง ส่วนพื้นที่ที่มีความเสี่ยงในระดับสูงมีเนื้อที่ร้อยละ 14.05 ของพื้นที่ประเทศไทย ส่วนใหญ่จะกระจายตัว
อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนี้ยังพบว่าดัชนีพืชพรรณจากดาวเทียม MODIS สามารถ นำมาใช้ในการเฝ้า
ระวังและติดตามภัยแล้งในระดับภาพรวมของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และมีความสอดคล้องกับฐานข้อมูล
หมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง
ชาญชัย และ วรวีรุกรณ์ (2550) การประเมินความเสี่ยงทางกายภาพเชิงพื้นที่ เพื่อหาพื้นที่เสี่ยงต่อความ
แห้งแล้งในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และ พะเยา ซึ่งมีองค์ประกอบหลักด้านกายภาพของพื้นที่ 3
องค์ประกอบด้วยกันคือ การประเมินสภาพภูมิอากาศ การประเมินการใช้ที่ดิน และการประเมินสภาพดินที่เป็นอยู่
ในพื้นที่ต่อการกักเก็บน้ำ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางในการประเมินความเสี่ยงต่อสภาวะ
ความแห้งแล้ง โดยเน้นถึงการนำข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายวัน ตลอดจนลักษณะการกระจายตัวของ สภาพภูมิ
ประเทศ และแหล่งน้ำในพื้นที่มาวิเคราะห์ร่วมกัน เพื่อประเมินค่าความเสี่ยงทาง กายภาพเชิงพื้นที่ด้วยระบบภูมิ
สารสนเทศ ปัจจัยทั้งหมดข้างต้นจำเป็นต้องมีการปรับค่ามาตรฐานของปัจจัย ด้วยวิธีการ Fuzzy membership
function ข้อมูลที่ได้จากการปรับค่ามาตรฐานจะมีค่าอยู่ระหว่าง 0-1 โดยค่า 0 หมายถึงพื้นที่ที่มีปัจจัยที่มีผลต่อ
ความเสี่ยงต่อสภาวะแห้งแล้งน้อยที่สุด ขณะที่ค่า 1 หมายถึง พื้นที่ที่มีปัจจัยที่มีผลต่อความเสี่ยงต่อสภาวะแห้งแล้ง
มากที่สุด ปัจจัยที่ผ่านการปรับค่ามาตรฐาน แล้วจะถูกนำมาวิเคราะห์เชิงซ้อนทับร่วมกันโดยผ่านวิธีการ