Page 28 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 28

20






               บริเวณกว้างทั่วประเทศ ความแห้งแล้งในประเทศไทย ส่วนใหญ่มีผลกระทบต่อการเกษตรโดยเฉพาะเดือน
               กรกฎาคม พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งมาก ได้แก่ บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางเพราะเป็น

               บริเวณที่อิทธิพลของมรสุมตะวันตกเฉียงใต้เข้าไปไม่ถึง และถ้าปีใดไม่มีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนผ่านในแนว

               ดังกล่าว จะก่อให้เกิดความแห้งแล้งรุนแรงมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อื่นที่มักประสบกับปัญหาความแห้งแล้งเป็น
               ประจำ ฝนทิ้งช่วงหมายถึงช่วงที่มีปริมาณ ฝนตกไม่ถึงวันละ 1 มิลลิเมตรติดต่อกันเกิน 15 วัน ในช่วงฤดูฝนสำหรับ

               เดือนที่มีโอกาสเกิดฝนทิ้งช่วงสูงสุด คือ เดือนมิถุนายนและเดือนกรกฎาคม ฝนแล้งด้านอุตุนิยมวิทยา หมายถึง

               สภาวะที่มีฝนน้อยหรือไม่มีฝนเลยในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งตามปกติควรจะต้องมีฝน ซึ่งขึ้นอยู่กับสถานที่ และฤดูกาล ณ
               ที่นั้นด้วย

                     ความแห้งแล้งจะเกิดขึ้นเป็นลำดับ โดยเริ่มจากความแห้งแล้งเชิงอุตุนิยมวิทยา ความแห้งแล้งเชิง

               เกษตรกรรม ความแห้งแล้งเชิงอุทกวิทยา และความแห้งแล้งเชิงเศรษฐศาสตร์และสังคม ตามลำดับ
               โดยหลังจากเกิดเหตุการณ์ฝนทิ้งช่วงขึ้น การเกษตรจะได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรก เนื่องจากความชุ่มชื้นของดิน

               จะลดลงอย่างรวดเร็ว และหากยังคงไม่มีฝนตก ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำอื่น ๆ จะเริ่มลดระดับลง และเมื่อมีฝนตกลง
               มาอีกครั้งความแห้งแล้งทางอุตุนิยมวิทยาจะเริ่มหมดไป ความชุ่มชื้นในดินจะเพิ่มขึ้นก่อนเป็นอันดับแรกจากนั้น

               ระดับน้ำเก็บกักผิวดินและใต้ดินจะเริ่มสูงขึ้น ความแห้งแล้งเชิงเกษตรกรรมจะหมดไปอย่างรวดเร็วเพราะขึ้นอยู่กับ
               สภาพความชุ่มชื้นในดินเป็นหลัก



               3.5 สาเหตุการเกิดภัยแล้ง
                     ปัจจัยที่ก่อให้เกิดภัยแล้งสำหรับประเทศไทยแล้ว นอกจากฝนยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นองค์ประกอบ

               อีกหลายอย่าง เช่น ระบบการหมุนเวียนของบรรยากาศ การเปลี่ยนแปลงส่วนผสมของบรรยากาศ
               การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างบรรยากาศกับน้ำทะเลหรือมหาสมุทร ดังนั้นการเกิดภัยแล้ง จึงมิใช่เกิดจาก

               สาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว สาเหตุของการเกิดภัยแล้งได้ดังนี้ (สำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา, 2555)

                     1. การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม
                        ประเทศไทยได้รับน้ำฝนจากธรรมชาติ เนื่องจากร่องมรสุมหรือร่องความกดอากาศต่ำที่พาดผ่านในช่วง

               ฤดูฝน หากปีใดมีกำลังอ่อนหรือเคลื่อนผ่านเร็วกว่าปกติ ก็จะเป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ฝนตกน้อย นอกจากนี้ยังมีพายุ

               ดีเปรสชั่นและพายุไต้ฝุ่นที่ช่วยให้ฝนตกเป็นบริเวณกว้าง หากไม่มีพายุเคลื่อนเข้ามาหรือมีน้อยก็จะทำให้ปริมาณ
               น้ำฝนลดน้อยเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดความแห้งแล้งได้ นอกจากนี้ปรากฏการณ์เรือนกระจกที่ทำให้

               อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นดังกล่าวมีผลกระทบต่อเนื่องคือ ทำให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ทำให้เกิด

               อุทกภัย/ความแห้งแล้ง พื้นที่ที่เคยอุดมสมบูรณ์จะเกิดการแห้งแล้งลงสลับกับการเกิดน้ำท่วม อุณหภูมิของผิวน้ำ
               เกิดเปลี่ยนแปลงจึงส่งผลทำให้อุณหภูมิเหนือน้ำเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน เป็นผลให้เกิดความร้อนและความแห้งแล้งใน

               บริเวณที่เคยมีฝนชุก และเกิดฝนตกหนักในบริเวณที่เคยแห้งแล้ง ลมพายุเปลี่ยนทิศทาง เกิดภาวะฝนตกน้อย หรือ
   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32   33