Page 33 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 33

25





               Weighted Linear Combination โดย มีการกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของ แต่ละปัจจัยด้วยวิธีการของ Malczewski
               เพื่อกำหนดระดับ ความสำคัญของปัจจัยในการประเมินโดยวิธีการ Ranking จากการเรียงลำดับความสำคัญของ

               ปัจจัยต่างๆ ที่ใช้ในการประเมิน ซึ่งพบว่าปริมาณน้ำฝนเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเกิดสภาวะแห้งแล้งของพื้นที่

               มากที่สุด รองลงมาเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์โดยตรงกับปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่ คือ ค่าดัชนีความเปียกของ
               พื้นที่ และความจุความชื้นที่เป็นประโยชน์ของดิน ปัจจัยทางกายภาพ เช่น ระยะห่างจากแหล่งน้ำผิวดิน และความ

               หนาแน่นของทางน้ำมีผลกระทบต่อระดับ ความแห้งแล้งของพื้นที่พอสมควร ส่วนปัจจัยที่มีความสำคัญต่ำสุด คือ

               สัมประสิทธิ์การใช้น้ำของพืช
                     ธีระพงศ์ (2553) ได้ศึกษาเกี่ยวกับการประเมินพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดอุทัยธานี โดยการศึกษาครั้งนี้มี

               วัตถุประสงค์เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งในจังหวัดอุทัยธานี เพื่อจัดลำดับความเสี่ยง โดยใช้ระบบ

               สารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับข้อมูลจากดาวเทียม และประเมินผลกระทบที่เกิดจากภัยแล้ง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการ
               วางแผนแก้ไขปัญหาภัยแล้งของจังหวัดอุทัยธานีในอนาคต โดยนำปัจจัยด้านพื้นที่ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการเกิดภัยแล้ง

               ได้แก่ ปริมาณน้ำฝน จำนวนวันที่ฝนตก ระยะห่างจากแหล่งน้ำ แหล่งน้ำใต้ดิน ความลาดชันของพื้นที่ ศักยภาพ
               ความชื้นของดิน และการใช้ประโยชน์ที่ดิน วิเคราะห์โดยใช้วิธีซ้อนทับข้อมูล (Overlay Analysis) โดยกำหนดค่ า

               คะแนนและการถ่วงน้ำหนัก เพื่อกำหนดระดับของพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง และนำข้อมูลที่ได้มาซ้อนทับกับค่าดัชนีพืช
               พรรณ (NDVI) ที่ได้จากข้อมูลดาวเทียม

                     วีระศักดิ์ และพลูศิรี (2558) ได้ศึกษาการก ำ ห น ดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งบริเวณภาคตะวันออกของ

               ประเทศไทย โดยศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดสภาวะแห้งแล้งใช้การวิเคราะห์หาความสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่างปัจจัยต่าง
               ๆ ร่วมกับการใช้ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ในการจัดเตรียมข้อมูลพื้นฐานวิเคราะห์และจัดหาแผนที่ซึ่งการ

               วิเคราะห์เพื่อกำหนดพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งได้กำหนดค่าถ่วงน้ำหนักของแต่ละปัจจัยตามลำดับของอิทธิพลที่มีต่อความ

               แห้งแล้ง คือ ดัชนีฝนแล้ง การอุ้มน้ำของดิน พื้นที่ชลประทานปริมาณน้ำใต้ดิน จำนวนวันที่ฝนตกรายปีเฉลี่ย และการใช้
               ประโยชน์ที่ดิน มีค่าถ่วงเป็น 3 : 2.5 : 2 :1.5 :1 :1 ตามลำดับ พบว่าสามารถจัดกลุ่มระดับความเสี่ยงภัยแล้งบริเวณภาค

               ตะวันออกเป็น 4 ระดับ คือ ระดับไม่เสี่ยงภัยแล้งมีพื้นที่ 8370.24 ตารางกิโลเมตร เสี่ยงภัยแล้งระดับต่ำมีพื้นที่

               10236.22 ตารางกิโลเมตร เสี่ยงภัยแล้งระดับปานกลาง มีพื้นที่ 10343.06 ตารางกิโลเมตร และเสี่ยงภัยแล้งระดับสูง
               มีพื้นที่ 5,661.74 ตารางกิโลเมตร
   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38