Page 19 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 19

11







                2.4 อิทธิพลจากลมมรสุม
                         1. ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ  ในช่วงกลางเดือนตุลาคม  ไปจนถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์

                และบางปีอาจเลยไปถึงกลางเดือนมีนาคม    จะพัดเอาความหนาวเย็นจากประเทศจีนเข้าสู่ประเทศไทย

                จัดเป็นช่วงฤดูหนาวมีอากาศแห้งแล้ง
                         2. ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ในช่วงกลางเดือนพฤษภาคมจนถึงปลายเดือนกันยายน พัดพาเอา

                ความชื้นจากบริเวณเส้นศูนย์สูตรจัดเป็นช่วงฤดูฝน



                2.5 ปัจจัยควบคุมอุณหภูมิ

                         1. ละติจูด ตั้งอยู่ในละติจูดสูง สภาพอากาศหนาวเย็นกว่าภาคอื่น
                         2. ความสูงของพื้นที่ ส่วนใหญ่จะมีเทือกเขาสูง มีอากาศหนาวเย็นมากโดยเฉพาะในฤดูหนาว

                         3. ระยะไกลจากทะเล ตั้งอยู่ไกลจากทะเล ทำให้ร้อนอบอ้าวและมีฝนตกน้อยในฤดูร้อน

                         4. ทิศทางลมประจำ  ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และดีเปรสชันจากทะเลจีนใต้
                ทำให้ฝนตกมากและรับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากประเทศจีนทำให้มีอากาศหนาวเย็น




                2.6 ทรัพยากรดิน
                         กรมพัฒนาที่ดินได้วิเคราะห์ศักยภาพของที่ดินเพื่อการเกษตรของประเทศไทย  โดยอาศัย

                คุณสมบัติต่างๆของดิน พบว่าในภาคเหนือมี 12 หน่วยที่ดิน ซึ่งในการวางแผนการใช้ที่ดินภาคเหนือได้นำ
                ศักยภาพของที่ดินนี้เป็นพื้นฐานในการกำหนดหน่วยที่ดินอันเป็นพื้นฐานการวางแผนด้า น

                การเกษตรกรรมศักยภาพของที่ดินในภาคเหนือทางเกษตร แบ่งออกได้เป็น 3 การใช้ประโยชน์คือ
                การปลูกพืชไร่ การทำนาข้าวและการปลูกไม้ผล นอกจากนี้ยังจำแนกกินที่ไม่เหมาะสมสำหรับเพาะปลูก

                เพื่อใช้ประโยชน์ด้านอื่นๆ ลักษณะของดิน ความเหมาะสมของการใช้ประโยชน์ และมาตรการจัดการของ

                ดินในภาคเหนือเป็นดังนี้ (สำนักสำรวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน, 2548)
                         1.หน่วยที่ดินสำหรับพืชไร่และไม้ผล

                          หน่วยที่ดินที่ 1

                          เป็นดินลึก การระบายนี้หรือดีปานกลาง เนื้อดินค่อนข้างละเอียด ความอุดมสมบูรณ์ปาน
                กลางสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ พบทั่วไปตามลำน้ำ

                          การใช้ประโยชน์ จัดเป็นที่เพาะปลูกถาวรสำหรับพืชล้มลุก เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ฝ้าย อ้อย

                ถั่ว ยาสูบ ละหุ่ง รวมทั้งไม้ผลต่างๆ
                          การจัดการที่ดินหน่วยนี้มีความจำเป็นน้อย เนื่องจากไม่มีปัญหาจำกัดของคุณสมบัติดิน แต่

                ควรจัดการน้ำเพื่อป้องกันการขาดน้ำ และป้องกันผลกระทบจากการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอื่น เช่น
                ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่อยู่ใกล้เคียง เป็นต้น
   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24