Page 16 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 16

8







                         4. บริเวณด้านตะวันออกเฉียงเหนือ มีทิวเขาหลวงพระบางกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทย
                กับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งแต่ด้านตะวันออกของอำเภอเชียงของจังหวัดเชียงราย

                ผ่านลงมาทางจังหวัดน่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ทำให้ภูมิประเทศบริเวณนี้ค่อนข้างทุรกันดาร มีเนินเขา และทิว

                เขาสลับซับซ้อน แต่ก็ยังมีที่ราบแคบๆในเขตอำเภอทุ่งช้าง อำเภอปัว และอำเภอเมือง จังหวัดน่าน
                         5. บริเวณตอนบนของภาคเหนือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตจังหวัดเชียงราย มีที่ราบกว้างกว่า

                จังหวัดใดๆ ในภาคเหนือ ระบบลำน้ำส่วนใหญ่ไหลขึ้นไปทางทิศเหนือลงสู่แม่น้ำโขง เนื่องจากมีสภาพ
                พื้นที่ลาดเทลงไปทางทิศเหนือ แม่น้ำที่ไหลผ่านที่ราบมีทั้งการเกิดการกัดเซาะและทับถม ทำให้หลาย

                บริเวณมีทางน้ำโค้งตวัด (Meanders) และทะเลสาบเกิดจากลำน้ำเก่า (Ox-Bow Lake) รวมทั้งบริเวณที่

                ทรุดต่ำขนาดกว้างใหญ่มีน้ำขังตลอดปีคือกว๊านพะเยา อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา และที่ลุ่มชื้นแฉะในเขต
                อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย

                         6. บริเวณตอนล่างของภาคเหนือ มีแนวของทิวเขาผีปันน้ำทอดยาวไปทางด้านใต้ของจังหวัด

                ลำปาง ทางเหนือของจังหวัดอุตรดิตถ์ ทำให้ภูมิประเทศบริเวณนี้โดยทั่วไป ประมาณ 2 ใน 3 ของพื้นที่
                เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ และที่ราบลูกคลื่นลอนชัน (Rolling) เกิดจากการกระทำของแม่น้ำสายสำคัญๆคือ ปิง

                ยม น่าน และสาขา ซึ่งทำให้เกิดสภาพพื้นที่หลายประเภท กล่าวคือ มีทั้งที่ราบน้ำท่วมถึง

                (Flood plain) บริเวณริมแม่น้ำปิง ยม และน่าน ที่ราบขั้นบันได (Terraces) และที่ราบสูง (Plateau)
                อยู่โดยทั่วๆ ไป ซึ่งนับว่าบริเวณเหล่านี้เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดของภาคเหนืออีกด้วย

                         7. บริเวณด้านตะวันออก เป็นภูเขาและทิวเขาจดขอบอาณาเขตของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
                ได้แก่ ทิวเขาเพชรบูรณ์ ซึ่งต่อเนืองมาจากทิวเขาหลวงพระบาง ระหว่างทิวเขาเพชรบูรณ์ กับทิวเขา

                เพชรบูรณ์ มีที่ราบแคบๆในเขตอำเภอหล่มสัก และอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ราบนี้มีแม่น้ำป่าสัก
                ไหลผ่านลงไปทางใต้ ส่วนทางด้านตะวันตกของทิวเขาสูงนี้เป็นที่ราบเชิงเขา (Foothill) สลับกับเนินเขา

                เตี้ยๆ (Hill) ไปจดกับบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำดังกล่าว



                2.3 ลักษณะภูมิอากาศ

                         ลักษณะภูมิอากาศส่วนใหญ่ของภาคเหนือ คือร้อนชื้นแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน (Savana) หรือ

                AW ซึ่งมีฝนตกชุกในฤดูฝน อากาศแห้งแล้งในฤดูกาลหนาว ในภาคเหนือ แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ
                         ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ

                พัดปกคลุมประเทศไทยตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว 1-2 สัปดาห์ เป็นช่วง

                เปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวน ไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้า
                คะนอง โดยเฉพาะบริเวณภาคกลางตอนล่างและภาคตะวันออกลงไปซึ่งจะหมดฝน และเริ่มมีอากาศเย็น

                ช้ากว่าภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลักษณะอากาศในฤดูหนาวพิจารณาจากอุณหภูมิต่ำสุด
                ของแต่ละวัน โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21