Page 12 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 12

4







                ข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปแบบของฐานข้อมูลในระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์แล้ว นำข้อมูลมา
                วิเคราะห์โดยการซ้อนทับข้อมูลด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักในแต่ละ

                ปัจจัยโดยให้น้ำหนัก เรียงลำดับตามความสำคัญมากน้อย

                             5) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่ โดยใช้ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับพื้นที่ที่ศึกษาและที่มี
                อิทธิพล ต่อการเกิดพื้นที่แล้งซ้ำซากมากที่สุด การศึกษาครั้งนี้มีความจำเป็นต้องมีการกำหนด

                คะแนน ความสำคัญ ทั้ง 5 ปัจจัย โดยกำหนดค่าถ่วงน้ำหนักให้แต่ละปัจจัย และระดับค่าถ่วงน้ำหนัก
                ให้แต่ละประเภทข้อมูล

                               6) เมื่อผ่านการวิเคราะห์ข้อมูลรายปี (10 ปี) และนำข้อมูลแต่ละปีมารวมกัน

                แล้ว กำหนดขอบเขตพื้นที่แล้งซ้ำซาก จะได้ระดับคะแนนรวมของพื้นที่แล้งซ้ำซาก จากนั้น
                จัดลำดับชั้นของพื้นที่แล้งซ้ำซาก และสามารถแบ่งระดับความแล้งซ้ำซากเป็น 3 ระดับ ได้แก่

                                    พื้นที่แล้งระดับ 1 คือ พื้นที่แล้งซ้ำซากตั้งแต่ 6 ครั้งขึ้นไปในรอบ 10 ปี หมายถึง

                พื้นที่ที่มีความแห้งแล้งด้านการเกษตรและเป็นพื้นที่เกิดขึ้นประจำ
                                    พื้นที่แล้งระดับ 2 คือ พื้นที่แล้งซ้ำซาก 4-5 ครั้งในรอบ 10 ปี หมายถึง พื้นที่ที่มี

                ความแห้งแล้งด้านการเกษตรและเป็นพื้นที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง

                                    พื้นที่แล้งระดับ 3 คือ พื้นที่แล้งซ้ำซากไม่เกิน 3 ครั้งในรอบ 10 ปี หมายถึง พื้นที่ที่มี
                ความแห้งแล้งด้านการเกษตรและเป็นพื้นที่เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว

                             7) ตรวจสอบเปรียบเทียบร่างแผนที่พื้นที่แล้งซ้ำซากกับข้อมูลสถิติการเกิดภัยแล้ง
                และ ตรวจสอบข้อมูลในสภาพพื้นที่จริง โดยการสังเกต และการใช้แบบสอบถามข้อมูล เพื่อทำการ

                ปรับแก้ไขร่าง แผนที่ให้มีความถูกต้อง ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้
                             8) นำเสนอร่างรายงาน ต่อคณะกรรมการวิชาการกลุ่มฯ พิจารณา ตรวจสอบ และทำการ

                ปรับปรุง แก้ไขตามคำเสนอแนะของคณะกรรมการวิชาการกลุ่มฯ

                             9) จัดทำแผนที่และรายงานผลการศึกษาพื้นที่แล้งซ้ำซาก



                1.4 สถานที่ดำเนินการ

                        17 จังหวัด ภาคเหนือ ได้แก่ กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุทัยธานี อุตรดิตถ์ แพร่
                น่าน สุโขทัย ตาก ลำปาง ลำพูน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แม่ฮ่องสอน และเพชรบูรณ์




                1.5 ระยะเวลา
                        ระยะเวลา 1 ปี งบประมาณปี 2564 เริ่มเดือนตุลาคม 2563 – สิ้นสุดเดือนกันยายน 2564
   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17