Page 9 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 9

1







                                                        บทที่ 1

                                                        บทนำ





                1.1 หลักการและเหตุผล


                         ภัยธรรมชาติเป็นปรากฏการณ์รุนแรงที่มีผลกระทบเป็นอย่างมากกับมนุษย์   ภัยแล้ง
                เป็นปรากฎการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งสภาพแวดล้อม และชีวิตรวมทั้งทรัพย์สินของมนุษย์

                โดยทั่วไปประเทศไทยจะเกิดภัยแล้งเป็นประจำในช่วงฤดูแล้งของทุกปีแต่จะมีความรุนแรงในระดับที่

                ต่างกัน ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันมีผลกระทบต่อกิจกรรมด้านต่าง ๆของประชากร ทั้งการขาดแคลนน้ำ
                เพื่อการอุปโภคและทำการเกษตรในพื้นที่ต่าง ๆ นอกจากภัยแล้งจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติแล้ว ยังอาจ

                เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมที่เป็นผลจากการกระทำของมนุษย์ ทำให้เสียสมดุลด้าน
                ระบบนิเวศวิทยาของพื้นที่ต้นน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำและยังมีผลกระทบ

                ทางอ้อมกับ ป ริมาณน้ำฝนประกอบกับสภาวะของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยรวมของ

                โลก (Climate Change) ที่มีความแปรปรวนและซับซ้อนส่งผลให้ปรากฏการณ์เอลนีโญ่ (El Nino)
                มีความรุนแรงมากขึ้นทำให้ประเทศไทยประสบกับภัยแล้งต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลต่อประชากรส่วนใหญ่ของ

                ประเทศไทยที่เป็นเกษตรกร และการทำการเกษตรในปัจจุบันต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก เมื่อพื้นที่ใน

                การทำการเกษตรได้รับผลกระทบจากภัยแล้งโดยตรง เช่น ดินขาดความชื้น พืชขาดน้ำ พืชหยุดการ
                เจริญเติบโต ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพต่ำรวมถึงผลผลิตที่ได้ลดลงด้วย ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจครัวเรือน และ

                ภาพรวมของประเทศด้วย ภัยแล้งที่มีผลต่อการเกษตรมักเกิดในฤดูฝนที่มีฝนทิ้งช่วงและเมื่อเกิดร่วมกับ
                การใช้ประโยชน์ที่ดินไม่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ด้วยแล้วยิ่งก่อให้เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำมากขึ้น

                         ปัจจุบันภาคเหนือเป็นภาคหนึ่งที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภัยแล้งโดยนับวันจะทวีความรุนแรง

                และขยายขอบเขตมากขึ้นทั้งที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยรายปีค่อนข้างสูงซึ่งมีค่ามากกว่า 1,000 มิลลิเมตรต่อปี
                โดยพื้นที่ภัยแล้งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่ฝนแล้งเป็นเวลานาน  เนื่องจากมีการกระจายของฝนไม่สม่ำเสมอ

                สภาพพนดินมีเนื้อดินเป็นดินทรายทำให้ความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ ปริมาณน้ำใต้ดินที่สามารถนำมาใช้ได้
                อยู่ในเกณฑ์ต่ำ  สภาพการใช้ที่ดินส่วนใหญ่เป็นพืชไร่  และพื้นที่การเกษตรอื่น ๆ ที่อาศัยน้ำฝนเกือบทั้งหมด

                ทำให้พื้นที่ดังกล่าวขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรกรรมซึ่งสร้างความเสียหายเป็นประจำทุกปี

                         ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ได้นำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาใช้เพื่อกำหนดขอบเขตพื้นที่แล้ง
                ซ้ำซากของภาคเหนือ โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเกิดแล้งซ้ำซาก ซึ่งแบ่งออกเป็น ปัจจัย

                คงที่ ได้แก่ เขตชลประทาน ระยะห่างจากลำน้ำ การระบายน้ำของดิน และความลาดชันของพื้นที่ และใน

                ส่วนของปัจจัยผันแปร ได้แก่ ความต้องการน้ำของพืช และปริมาณน้ำฝนรายปีจำนวน 10 ปี เพื่อกำหนด
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14