Page 11 - พื้นที่แล้งซ้ำซากภาคเหนือปรับปรุงปี 2564
P. 11

3







                               1) ระยะทางจากเขตชลประทาน จะเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่มีการบริหารจัดการน้ำให้
                เพียงพอในการใช้เพื่อการเกษตร ซึ่งหากเป็นพื้นที่ที่อยู่นอกเขตชลประทานที่มีการบริหารจัดการน้ำก็อาจ

                มีโอกาสประสบปัญหาภัยแล้งมากกว่าพื้นที่ในเขตชลประทาน

                               2) ระยะทางจากแหล่งน้ำผิวดิน จะเป็นข้อมูลที่บ่งชี้ถึงพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแหล่งน้ำผิวดิน
                เช่น แม่น้ำ ลำคลอง หากฝนไม่ตกต่อเนื่องเป็นเวลานานปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง พื้นที่นั้นอาจขาดน้ำเพื่อ

                การเกษตรได้
                               3) ความสามารถในการอุ้มน้ำของดิน เป็นตัวชี้วัดระดับความสามารถในการเก็บกักน้ำ

                ไว้ใช้ได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางกายภาพพื้นฐานของดินนั้น ๆ ได้แก่ เนื้อดิน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติ

                การระบายน้ำ ของกลุ่มชุดดิน ซึ่งพิจารณาจาก คุณสมบัติของดิน ความสามารถในการอุ้มน้ำของดินแต่
                ละชนิด ซึ่งมีผลต่อความชื้นในดิน และความเป็นประโยชน์ต่อการใช้น้ำของพืช

                             4) ความลาดชันของพื้นที่ มีผลต่อความเร็วในการเคลื่อนที่ของน้ำบนผิวดินและใต้พื้นดิน

                ตาม หลักการไหลของน้ำ พื้นที่มีความลาดชันมาก เช่น พื้นที่สูงและที่ดอน น้ำจะไหลบ่าออกจากพื้นที่ได้
                เร็วกว่า พื้นที่มีความลาดชันน้อยหรือพื้นที่ราบลุ่ม ซึ่งจะส่งผลให้โอกาสเกิดสภาวะแล้งซ้ำซากมากกว่า

                พื้นที่ราบลุ่ม

                             5) สภาพการใช้ที่ดิน ความต้องการน้ำของพืช และปริมาณฝน เนื่องจากสภาพการใช้
                ที่ดินเป็นปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความต้องการน้ำของพืชและปริมาณน้ำฝนที่ตกในปีนั้น ๆ

                ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเกิดสภาวะแล้งซ้ำซากของพื้นที่นั้น คือ หากมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอกับความ
                ต้องการน้ำของพืชของการใช้ที่ดินประเภทนั้น ๆ ติดต่อกันมากกว่า 1 ปี ก็จะทำให้เกิดสภาวะแล้งซ้ำซาก

                ในพื้นที่ได้
                         1.3.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์เชิงพื้นที่ (Spatial Analysis) สามารถสรุปในแต่ละขั้นตอนได้ดังนี้

                             1)  การคัดเลือกปัจจัยโดยพิจารณาจากปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่เป็นปัจจัยคงที่ ได้แก่ ความ

                ลาดชัน การระบายน้ำ  และปัจจัยด้านสาธารณูปโภคต่าง ๆ เป็นต้น
                             2) การเตรียมข้อมูลเชิงพื้นที่ เป็นข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ  ในรูปแบบแผนที่ที่มีรายละเอียด

                และ มาตราส่วนที่เหมาะสม ซึ่งควรเป็นข้อมูลที่มาตราส่วนเดียวกัน  พร้อมทำการตรวจสอบและแก้ไข

                ข้อมูลเพื่อ ความถูกต้องก่อนน้ำไปประยุกต์ใช้
                             3) การนำเข้าและจัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เป็นการจัดการข้อมูลให้

                อยู่ใน รูปแบบโครงสร้างแบบราสเตอร์หรือเวคเตอร์ตามต้องการ

                             4) แปลงข้อมูลสภาพภูมิอากาศ ได้แก่ ข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปี (ปี พ.ศ.2554 –
                2563) ของแต่ละปีทุกสถานีตรวจวัดอากาศในภาคเหนือของกรมอุตุนิยมวิทยาให้อยู่ในรูปข้อมูลเชิง

                พื้นที่เพื่อนำไปวิเคราะห์ร่วมกับสภาพการใช้ที่ดินและความต้องการน้ำของพืชร่วมกันเพื่อ
                เป็นปัจจัยผันแปรในการวิเคราะห์ร่วมกับปัจจัยคงที่เพื่อหาพื้นที่แห้งแล้งของแต่ละปี หลังจากแปลง
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16