Page 58 - การประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และสำรวจระยะไกล เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูลการชะล้างพังทลายของดิน ในพื้นที่การเกษตรภาคใต้
P. 58

การประเมินค่าการสูญเสียดินในพื้นที่ภาคใต้ ทำการประเมินโดยประยุกต์ใช้ระบบสารสนเทศ
               ภูมิศาสตร์ร่วมกับสมการการสูญเสียดินสากล (Universal soil Lose Equation: USLE) ของ

               Wischmeier, W.H. and Smith, D.D. (1978) เพื่อประเมินอัตราการชะล้างพังทลายของดิน โดยนำเข้า
               ข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล โดยปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์การมีดังนี้

               1. การประเมินค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน
                  ฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการชะล้างพังทลายของดิน โดยเฉพาะในประเทศที่อยู่ในเขตมรสุม
               จะมีการกระจายของเม็ดฝนไม่สม่ำเสมอ ทำให้ความรุนแรงของฝนที่ตกลงมาในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ๆ

               มีความแตกต่างกัน ส่งผลให้ดินเกิดการชะล้างพังทลายมากน้อยต่างกันไปด้วย
                  ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝนเป็นค่าความสัมพันธ์ของพลังงานจลน์ของเม็ดฝนที่ตกกระทบ
               ผิวหน้าดินกับปริมาณความหนาแน่นของฝน (Rainfall Intensity) ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง นำค่าที่ได้
               มาสร้างสมการเพื่อหาค่า R-factor สำหรับประเทศไทยอ้างอิงตาม กรมพัฒนาที่ดิน (2545) ได้ใช้สมการ

               ที่เหมาะสมกับปริมาณฝนของประเทศไทย คือ

                              R  =  0.4996X – 12.1415

                       เมื่อ  R คือ ค่าปัจจัยการชะล้างพังทลายของดิน (เมตริกตันต่อเฮกแตร์ต่อปี)

                              X คือ ค่าปริมาณฝนเฉลี่ยรายปี (มิลลิเมตรต่อปี)

                  วิธีการการสร้างชั้นข้อมูล R-factor เพื่อใช้ในสมการสูญเสียดินสากล (USLE)
                  1) รวมรวบข้อมูลปริมาณน้ำฝนในแต่ละสถานีย้อนหลัง 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 – 2565 จาก
               กรมอุตุนิยมวิทยา ในบริเวณพื้นที่ภาคใต้ แล้วหาค่าเฉลี่ยเป็นปริมาณน้ำรายปี

                  2) สร้างตารางข้อมูลฝน บันทึกข้อมูลน้ำฝนด้วยโปรแกรม Microsoft Excel
                  3) สร้างเส้นชั้นน้ำฝน โดยเลือกเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ นำเข้าข้อมูลตารางปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี
               ลงในโปรแกรมสารสนเทศภูมิศาสตร์ ทำการประมาณค่าข้อมูลเชิงพื้นที่ ((Interpolation) โดยการ
               ประมวลผลใช้ขนาดจุดพิกเซลของภาพเท่ากับ 30X30 เมตร
                  4) สร้างภาพชั้นข้อมูลปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน โดยเมื่อได้ข้อมูลที่ทำการ interpolation

               ที่ของปริมาณน้ำฝน 30 ปี แล้ว ทำการคำนวณโดยแทน ค่า X ด้วยค่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปี
               จากสมการ R-factor จะได้เป็นชั้นข้อมูลปัจจัยการชะล้างพังทลายของฝน (รูปภาคผนวกที่ 1)
                  5) เก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อทำการวิเคราะห์ต่อไป
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63